0 รายการ 0 บาท
สมัครสมาชิกฟรี ล็อกอินใช้งาน นโยบาบเวบไซต์  
 
 
  หน้าหลัก     เกี่ยวกับไร่พอใจ     สินค้าจากไร่พอใจ     เรื่องราวที่ไร่พอใจ     ติดต่อไร่พอใจ
ค้นหาเรื่องราว :
 
สมัครอีเมล์รับข่าวสารต่างๆ จากไร่พอใจ
 
 
 
 
พอเพียง ไม่ใช่อัตคัดขัดสน เป็นการพออยู่พอกิน เหลือแจกจ่ายขาย แล้วจึงขยายเพิ่มได้
 
 
     
 
     
 
มะระขี้นก สมุนไพรไทย
พืชเถาเลื้อยที่ขึ้นง่าย
ปลอดภัยจากสารพิษแน่นอน

เรื่องและเรียบเรียงโดย ตุ๊แสนฤทธิ์
 
 
 
มะระขี้นก เป็นพืชเถาเลื้อยที่ขึ้นง่ายตามป่ารกทั่วไป เป็นพืชสมุนไพรรสขมที่มีสรรพคุณทางยารักษาและป้องกันโรคภัยต่างๆ มากมาย พืชตระกูลมะระนี้ จะมีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือมะระจีนและมะระขี้นก มะระจีนจะมีสรรพคุณทางสมุนไพรน้อยกว่ามะระขี้นก และมีผลที่ใหญ่กว่า ส่วนมะระขี้นกจะมีผลขนาดเล็ก เป็นอาหารโปรดของพวกนกทุกชนิด โดยเฉพาะเมล็ดสีแดงข้างใน มะระขี้นกจึงขยายพันธุ์ไปได้ไกลโดยการช่วยของนก เมื่อมีการขับถ่ายมูลที่ปนเมล็ดของมะระออกมา
 
 

มะระขี้นกมีถิ่นกำเนิดในซีกโลกตะวันออก กลุ่มประเทศใกล้เส้นศูนย์สูตร ไปจนถึงตอนบนที่อบอุ่น ดังนั้นจึงสามารถพบเห็นอาหารหลายอย่างของชนชาติเหล่านี้นิยมใช้มะระขี้นกเป็นส่วนประกอบของอาหารหลายหลาก โดยใช้ทั้งต้น ผล ใบ

มะระขี้นก เป็นผักพื้นบ้านที่ขึ้นได้ทั่ว ๆ ไป ลูกเล็กรูปร่างคล้ายกระสวย ผิวเปลือกขรุขระและมีปุ่มยื่นออกมา ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีเหลืองอมแดง ปลายผลจะแตกเป็น 3 แฉก นกชอบมาจิกกินทั้งผลและเมล็ด แล้วก็ถ่ายเมล็ดไว้ตามที่ต่าง ๆ จึงเรียกกันว่ามะระขี้นก

 
 
 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของ มะระขี้นก
 

มะระขี้นกแทบไม่จำเป็นต้องปลูก เพราะขึ้นได้ง่าย จนเกษตกรบางท่านยังคิดว่าเป็นวัชพืช มะระขี้นกเป็นไม้เลื้อยพันต้นไม้อื่น มีมือเกาะ ลำต้นเป็นเหลี่ยมมีขนปกคลุม ใบเดี่ยวออกสลับลักษณะคล้ายใบแตงโมแต่เล็กกว่า มีสีเขียวทั้งใบ ขอบใบหยัก เว้าลึก มี 5-7 หยัก ปลายใบแหลม ออกดอกเดี่ยวตามง่ามใบ สีเหลืองอ่อน มี 5 กลีบ เกสรมีสีเหลืองแก่ถึงส้ม กลีบดอกบาง ช้ำง่าย ผลเดี่ยว รูปกระสวย ผิวขรุขระ มีปุ่มยื่นออกมา ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกมีสีเหลืองถึงส้ม ผลแก่แตกอ้าออก เมล็ดสุกมีสีแดงสด รูปร่างกลมแบน

ดอกมะระขี้นก เป็นดอกเดี่ยวแยกเพศผู้เพศเมียในต้นเดียวกัน เจริญมาจากช่อดอกมีก้านยาว เหมือนเส้นลวดเล็กๆ เส้นผ่านศูนย์กลางของดอกประมาณ 2.5 - 3.5 เซนติเมตร มีกลีบนอก 5 กลีบ สีเขียวปนเหลือง และกลีบใน 5 กลีบ สีเหลืองสด ดอกตัวผู้จะเจริญออกมาก่อนดอกตัวเมีย เกสรตัวผู้ มี 3 อัน และแต่ละอันมีก้านชูเกสรตัวผู้นี้ 3 อัน มีอับเรณู 3 อัน ดอกตัวเมียมีรังไข 1 อัน และ Stigma 3 คู่ และมีก้านชู เกสรตัวเมีย 3 อัน 

เมล็ดมะระขี้นก มีรูปร่างกลมรี แบน ปรายแหลมผิวขรุขระ เมื่อแก่เต็มที่จะมีเมือกสีแดงห่อหุ้มอยู่ และเนื่องจากมะระขี้นกเป็นผักพื้นบ้านที่ขึ้นอยู่ทั่วไปในธรรมชาติเป็นเถาไม้เลื้อยที่ขึ้นคลุมพืชอื่นๆ ได้ ดังนั้น เมื่อผลสุกจึงมักมีนกมาจิกกินทั้งผลและเมล็ด จากนั้นก็ไปถ่ายไว้ตามที่ต่างๆ เมื่อเมล็ดงอกขึ้นมาใหม่ จะเกาะเกี่ยวเลื้อยไปตามที่ต่างๆ ที่เกาะได้ เช่น แนวรั้ว ต้นไม้ใหญ่ๆ ด้วยเหตุนี้เองจึงได้ชื่อว่า “มะระขี้นก” 

 
 
 
 
อาหารพื้นบ้านกินได้ทุกส่วนของ มะระขี้นก
 
มะระขี้นก มีรสขมกว่ามะระจีน จึงนิยมกินในหมู่ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ผลอ่อนนำไปต้มหรือเผากินได้ทั้งลูก ผลแก่ต้องนำมาผ่ากลาง คว้านเมล็ดออกเสียก่อน การลดความขมของมะระขี้นกนั้นทำได้โดยต้มน้ำให้เดือดจัด ใส่เกลือสักหยิบมือ ลวกมะระในน้ำเดือดสักครู่ มะระจะยังคงมีผลสีเขียวสด หรือจะต้มกินกับน้ำพริกก็ได้ บางครั้งราดด้วยกะทิสดเพื่อเพิ่มรสชาต
 
 
 
 
การปรุงแกงจืดมะระขี้นกยัดไส้หมูสับ ต้องต้มนานหน่อยให้ความขมจางลง หรือปรุงอาหารเผ็ด เช่น พะแนงมะระขี้นกยัดไส้ หรือเป็นแกงเผ็ดก็ได้ ถ้าจะนำไปปรุงอาหารผัด เช่น ผัดกับไข่ ให้ต้มน้ำแล้วเททิ้งหนึ่งครั้ง
 
 
 
 
นอกจากใช้ผลเป็นอาหารแล้ว ใบของมะระขี้นกก็นำมาทำอาหารได้ แต่ไม่นิยมกินสดเพราะมีรสขม ยอดมะระลวกเป็นผักจิ้มกินกับน้ำพริก หรือกับปลาป่นของชาวอีสาน ยิ่งเด็ดยิ่งแตกยอดเพิ่มอีก ทางภาคเหนือนิยมนำยอดมะระสดมากินกับลาบ หรือนำไปทำแกงคั่ว แกงเลียง และแกงป่า ได้รสน้ำแกงที่ขมเฉพาะตัว ทางอีสานนิยมนำใบมะระขี้นกใส่ลงไปในแกงเห็ดแบบพื้นบ้านจะทำให้แกงมีรสขมนิด ๆ กลมกล่อมมาก บ้างนิยมนำใบมะระมาต้มหรือลวกจิ้มน้ำพริก
 
 
 
 
 
ความมีรสขมของ มะระขี้นก
 

มะระขี้นกจะมีความขมมากกว่ามะระจีนมาก ความขมของมะระขี้นกเกิดจากสารอัลคาลอยด์โมโมดิซีน (momodicine) ซึ่งสารอัลคาลอยด์ตัวนี้จะเจือจางลงเมื่อนำมะระขี้นกไปผ่านความร้อน เช่น ต้มในน้ำเดือด ซึ่งจะทำให้ความขมลดลง ทำให้รับประทานง่ายขึ้น แต่ข้อเสียคือ เมื่อสารโมโมดิซีนเจือจางคุณค่าทางโภชนาการจะลดลงด้วย ความขมของมะระขี้นกช่วยให้กระเพาะเจริญอาหาร ท้องไส้ก็ระบายได้ดี นอกจากนี้ความขมยังเป็นตัวช่วยถุงน้ำดี ป้องกันถุงน้ำดีพิการ และช่วยได้อีกหลายโรค

สำหรับคนไทย มะระขี้นกถือเป็นอาหารในบ้านที่คนส่วนใหญ่ยังนิยมรับประทาน อาจมีบ้างที่เด็กรุ่นใหม่รู้สึกรังเกียจความขมของมัน จึงอยากบอกว่า...อย่ารังเกียจความขมของมะระขี้นก เพราะความขมของมะระขี้นกนี้ คือตัวยาสำคัญที่ร่างกายสามารถดูดซึมนำไปใช้ได้ทันที

 
 
 
 
คุณค่าทางอาหารของ มะระขี้นก
 
ในมะระขี้นก 100 กรัม จะมีสารอาหารที่สำคัญต่อร่างการดังนี้
 
  • พลังงาน 19 กิโลแคลอรี่
  • คาร์โบไฮเดรต 4.32 กรัม
  • น้ำตาล 1.95 กรัม
  • เส้นใย 2 กรัม
  • ไขมัน 0.18 กรัม
  • โปรตีน 0.84 กรัม
  • น้ำ 93.95 กรัม
  • ไนอะซีน 190 ไมโครกรัม
  • วิตามินเอ 6 ไมโครกรัม 1%
  • แบต้าแคโรทีน 68 ไมโครกรัม 1%
  • ลูทีน และ ซีแซนทีน 1,323 ไมโครกรัม
  • วิตามินบี1 0.051 มิลลิกรัม 4%
  • วิตามินบี2 0.053 มิลลิกรัม 4%
  • วิตามินบี3 0.28 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินบี5 0.193 มิลลิกรัม 4%
  • วิตามินบี6 0.041 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามินบี9 51 ไมโครกรัม 13%
  • วิตามินซี 33 มิลลิกรัม 40%
  • วิตามินอี 0.14 มิลลิกรัม 1%
  • วิตามินเค 4.8 ไมโครกรัม 5%
  • ธาตุแคลเซียม 9 มิลลิกรัม 1%
  • ธาตุเหล็ก 0.38 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุแมกนีเซียม 16 มิลลิกรัม 5%
  • ธาตุแมงกานีส 0.086 มิลลิกรัม 4%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 36 มิลลิกรัม 5%
  • ธาตุโพแทสเซียม 319 มิลลิกรัม 7%
  • ธาตุโซเดียม 6 มิลลิกรัม 0%
  • ธาตุสังกะสี 0.77 มิลลิกรัม 8%
 
มะระขี้นก (สีเขียว) มีคุณค่าทางอาหารเพราะมีวิตามินเอ (2,924 IU) ไนอะซิน (190 มก./100 ก) และมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ  มะระขี้นกที่สุกแล้วจะมีสารซาโปนิน (Saponin) ในปริมาณมาก การรับประทานมากเกินไปอาจทำให้มีอาการอาเจียน ท้องร่วงได้ และอาจทำให้ถึงขึ้นเสียชีวิต เพราะฉะนั้นห้ามรับประทานแบบสุกๆ จะดีที่สุด
 
 
 
 
งานวิจัยเกี่ยวกับสารสำคัญใน มะระขี้นก
 

ในมะระขี้นกจะมีสารสำคัญที่เรียกว่า Charatin กับโปรตีนคล้าย Insulin จึงมีผลทำให้น้ำตาลในเลือดลดลง โดยมีการกระตุ้นให้มีการหลั่ง Insulin ให้อยู่ในระดับที่ไม่อันตราย ทำให้ลดน้ำตาลในเลือดและปัสสาวะ ทำให้ร่างกายสามารถควบคุมการใช้น้ำตาลได้ดี และยังพบว่า มะระขี้นกมีวิตามินซีสูงด้วย นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่ามีฤทธิ์ต้านมะเร็ง และต้านไวรัส HIV ด้วย

 
 
 
 
งานวิจัยสมุนไพรมะระได้ดำเนินอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ ค.ศ. 1962 ซึ่ง Lotlika และ Rao ได้ค้นพบชาแรนตินในผลมะระ ที่แสดงฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลอง ในปี 1965 Sucrow ได้พิสูจน์โครงสร้างเคมีของชาแรนติน พบว่าเป็นสารผสมของ sitosteryl- และ 5,25-stigmastadien-3-beta-ol-D-glucosides ในอัตราส่วน 1:1 ปี 1977 Baldwa และคณะ ได้แยกสารคล้ายอินซูลินจากผลมะระและมีฤทธิ์ลดน้ำตาล ในปี 1981 Khana และคณะได้พิสูจน์โครงสร้างของสารคล้ายอินซูลิน พบว่าเป็นโพลีเปปไทด์ที่มีน้ำหนักโมเลกุล 11,000 ดาลตัน และมีกรดอะมิโน 166 residues เรียกสารนี้ว่า โพลีเปปไทด์ พี สารขมกลุ่มคิวเคอร์บิตาซินซึ่งเป็น chemotaxonomic character ของพืชวงศ์ Cucurbitaceae คิวเคอร์บิตาซินในมะระ คือ momordicosides, momordicins, karaviloside K1 และ charantoside มีรายงานว่าสารขมดังกล่าวมีฤทธิ์ลดน้ำตาล
 
 
 
 
ในมะระขี้นกมีสารหลายชนิดที่ต้านเบาหวาน และมีหลายกลไกที่ออกฤทธิ์ต้านเบาหวาน ได้แก่ เสริมการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน ลดการสร้างน้ำตาลจากตับ เสริมการเผาผลาญน้ำตาล เพิ่มความไวต่ออินซูลิน เพิ่มความทนต่อกลูโคส (glucose tolerance) นอกจากนี้ยังยับยั้งการหลั่งกลูโคสในลำไส้เล็ก และยับยั้งเอนไซม์กลูโคไซเดส
 
น้ำคั้นจากผลมะระขี้นกแสดงฤทธิ์ต้านเบาหวานในกระต่ายและหนูขาว นอกจากนี้ยังมีรายงานว่ามะระสามารถชะลอความผิดปกติของไต การเกิดต้อกระจก การเสื่อมของเส้นประสาทซึ่งเป็นผลมาจากการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน หรือไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลเลือดให้ปกติ 
 
การศึกษาทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (8 คน) พบว่าผู้ป่วยทนต่อกลูโคสได้ดีขึ้น ลดระดับน้ำตาลขณะอิ่ม และลดความถี่ของการถ่ายปัสสาวะ จึงขอแนะนำผู้ป่วยเบาหวานบริโภคมะระขี้นกเป็นอาหาร หรือในรูปน้ำคั้นเป็นอาหารเสริม เพื่อช่วยรักษาระดับความดันเลือดให้ปกติ และชะลออาการต่างๆที่เป็นผลเสียจากโรคเบาหวานที่เป็นมานาน
 
 
สรรพคุณทางยาสมุนไพรของ มะระขี้นก
 
คนไทยรู้จักใช้มะระขี้นก เป็นสมุนไพรมาแต่โบราณ โดยมีการนำมาเข้ากับสมุนไพรอื่นๆ อีกหลายชนิด เพื่อปรุงเป็นยา มะระขี้นกสามารถนำมาใช้งานได้ทุกส่วนของต้น โดยมีสรรพคุณทางสมุนไพรดังนี้
 
รากของต้นมะระขี้นก แก้พิษ รักษาริดสีดวงทวาร ฝาดสมาน แก้พิษดับร้อน แก้บิด ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด แผลฝีบวมอักเสบ ปวดฟันที่เกิดจากลมร้อนเถา ยาระบายอ่อน ๆ แก้พิษทั้งปวง เจริญอาหาร แก้โรคลมเข้าข้อและเท้าบวม แก้ปวดตามข้อมือและนิ้วมือนิ้วเท้า แก้โรคม้าม แก้โรคตับ ขับพยาธิในท้อง แก้พิษน้ำดีพิการ ลดเสมหะ บำรุงน้ำดี แก้พิษดับร้อน แก้บิด แก้ฝีอักเสบ แก้ปวดฟัน แก้ไข้
 
 
 
 
ใบของมะระขี้นก แก้ไข้ ดับพิษร้อน แก้ปากเปื่อยเป็นขุย ขับพยาธิ ขับระดู บีบมดลูก ขับลม แก้ธาตุไม่ปกติ ทำให้นอนหลับ แก้ปวดศีรษะ แก้พิษ แก้ไอเรื้อรัง ยาระบายอ่อน ๆ แก้เสียดท้อง บำรุงธาตุ ขับพยาธิเส้นด้าย ดับพิษฝีที่ร้อน รักษาแผล บำรุงน้ำดี แก้ไข้หวัด ไข้ตัวร้อน ยาฟอกเลือด แก้ร้อนใน แก้ม้าม แก้ตับพิการ แก้ฟกบวมอักเสบ แก้ปวดเนื่องจากลมคั่งในข้อ ทำให้อาเจียน แก้โรคกระเพาะ แก้บิด แผลฝีบวมอักเสบ เจริญอาหาร ฟอกโลหิต รัดถานและถอนไส้ฝี.....
 
ผลดิบของมะระขี้นก แก้พิษฝี แก้ฟกบวม แก้อักเสบ แก้โรคลมเข้าข้อ บำรุงน้ำดี ขับพยาธิ แก้ปากเปื่อย ปากเป็นขุ ย บำรุงระดู ดับพิษร้อน ถ่ายท้อง แก้พิษ ขับลม แก้คัน แก้ธาตุไม่ปกติ แก้เสียดท้อง แก้เจ็บปวดอักเสบ ระบายอ่อนๆ แก้บวม แก้โรคผิวหนัง บำบัดโรคเบาหวาน ยาบำรุง ทาหิด ฝาดสมาน แก้โรคเม็ดผดผื่น คันในตัวเด็ก แก้พิษไข้ แก้หัวเข่าบวม แก้ปวดตามข้อ แก้ม้าม แก้ตับพิการ เจริญอาหาร ใช้มากๆ เป็นยาถ่ายอย่างแรง รักษาโรคเรื้อน บำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้ปวดเจ็บอักเสบจากพิษต่างๆ ดับร้อน แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ทำให้ตาสว่าง แก้บิด ตาบวมแดง แผลบวม เป็นหนอง ต้านมะเร็ง.....
 
เมล็ดของมะระขี้นก แก้พิษ เป็นยากระตุ้นความรู้สึกทางเพศ เพิ่มพูนลมปราณ บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง ต้านมะเร็ง.....
 
ดอกของมะระขี้นก มีรสขม ใช้แก้พิษ แก้บิด
 
 
 
 
การรักษาโรคต่างๆ ของ มะระขี้นก
 
ได้มีการรวบรวม สรรพคุณทางยารักษาของมะระขี้นก ที่สามารถรักษาโรคต่างๆ ให้หายได้ ตามการรักษามาแต่โบราณดังนี้
 
1.
ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงมีส่วนช่วยในชะลอความแก่ชราได้
2.
ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย (ผล)
3.
ช่วยต่อต้านและป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง (ผล)
4.
ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในตับอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีส่วนช่วยในการลดความอ้วน
5.
ช่วยป้องกันการตับและหนาตัวของผนังหลอดเลือดแดง
6.
ช่วยยับยั้งเชื้อเอดส์ หรือ HIV (ผล)
7.
ช่วยรักษาโรคหอบหืด
8.
ช่วยบำบัดและรักษาโรคเบาหวาน สามารถลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้เป็นอย่างดี โดยจะออกฤทธิ์ทันทีหลังรับประทานประมาณ
60 นาที (ผล)
9.
ประโยชน์ของมะระ ช่วยลดความดันโลหิต (ผล)
10.
ช่วยให้เจริญอาหาร เพราะมีสารที่มีรสขมช่วยกระตุ้นน้ำย่อยออกมามากยิ่งขึ้น ทำให้รับประทานอาหารได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น (ผล,ราก,ใบ)
11.
ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงธาตุ เพิ่มพูนลมปราณ ด้วยการใช้เมล็ดแห้งของมะระขี้นกประมาณ 3 กรัมต้มกับน้ำดื่ม (ผล,เมล็ด,ใบ)
12.
แก้ธาตุไม่ปกติ (ผล,ใบ)
13.
ใช้เป็นยาช่วยในการฟอกเลือด (ใบ)
14.
ช่วยในการนอนหลับ (ใบ)
15.
ช่วยบำรุงสายตา แก้อาการตาฟาง ช่วยในการถนอมสายตา ช่วยทำให้ดวงตาสว่างสดใสขึ้น แก้ตามบวมแดง (ผล)
16.
ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ (ใบ)
17.
ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย (ผล,ใบ)
18.
สรรพคุณมะระขี้นก ช่วยแก้ไข้ที่เกิดจากการถูกความร้อน ด้วยการใช้ผลสดของมะระขี้นก คว้านไส้ออก ใส่ใบชาแล้วประกบ
กันน้ำแล้วนำไปตากในที่ร่มให้แห้ง รับประทานครั้งละ 6-10 กรัม โดยจะต้มน้ำดื่มหรือชงดื่มเป็นชาก็ได้ (ผล,ราก,ใบ)
19.
ช่วยแก้อาการไอเรื้อรัง (ใบ)
20.
ช่วยลดเสมหะ (ราก)
21.
แก้อาการปากเปื่อยลอกเป็นขุย (ผล,ใบ)
22.
ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้รากสดของมะระขี้นกประมาณ 30 กรัม ต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้เถาแห้งประมาณ 3 กรัมต้มกับน้ำดื่มก็ได้
 
(ราก,เถา)
23.
ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ด้วยการใช้ผลสดของมะระขี้นกต้มรับประทาน หรือจะใช้รากสดของมะระขี้นกประมาณ 30 กรัม
 
ต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้เถาแห้งประมาณ 3 กรัมต้มกับน้ำดื่มก็ได้ (ผล,ราก,ใบ,เถา)
24.
ช่วยในการย่อยอาหารได้เป็นอย่างดี
25.
ช่วยรักษาโรคกระเพาะ ด้วยการใช้ใบสดของมะระขี้นกประมาณ 30 กรัมต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้ใบแห้งบดเป็นผงรับประทานก็ได้ (ใบ)
 
น้ำตาลกรวด 60 กรัมนำมาต้มกับน้ำดื่ม (ผล,ใบ,ดอก,เถา)
26.
มะระขี้นก สรรพคุณช่วยรักษาอาการบิดถ่ายเป็นเลือดหรือมูกเลือด ด้วยการใช้เถาสดประมาณ 1 กำมือนำมาใช้แก้อาการบิดเลือด
 
ด้วยการต้มน้ำดื่ม หรือใช้แก้บิดมูกให้ใส่เหล่าต้มดื่ม (ราก,เถา)
27.
แก้อาการจุดเสียด แน่นท้อง (ผล,ใบ)
28.
มะระขี้นก สรรพคุณทางยา ช่วยขับพยาธิ ด้วยการใช้ใบสดของมะระขี้นกประมาณ 120 กรัมนำมาตำคั้นเอาน้ำดื่ม
 
หรือจะใช้เมล็ประมาณ 3 เมล็ดรับประทานเพื่อขับ
29.
พยาธิตัวกลมก็ได้ (ผล,ใบ,ราก,เมล็ด)
30.
ช่วยขับระดู (ใบ)
31.
ช่วยบำรุงระดู (ผล)
32.
ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร (ราก)
33.
สรรพคุณของมะระขี้นก มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ (ผล,ราก,ใบ)
34.
ช่วยขับลม (ผล,ใบ)
35.
แก้โรคม้าม รักษาโรคตับ (ผล,ราก,ใบ)
36.
ช่วยบำรุงน้ำดี (ผล,ราก,ใบ)
37.
แก้พิษน้ำดีพิการ (ราก)
38.
ใช้แก้พิษ ด้วยการใช้รากสดของมะระขี้นกประมาณ 30 กรัม ต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้เถาแห้งประมาณ 3 กรัมต้มกับน้ำดื่มก็ได้ (ผล,ราก,ใบ,เถา
39.
ช่วยรักษาแผลฝีบวมอักเสบ ด้วยการใช้ใบแห้งของมะระขี้นกมาบดให้เป็นผงแล้วชงกับเหล้าดื่ม หรือจะใช้ใบสดนำมาตำให้แหลก
คั้นเอาน้ำมาทาบบริเวณที่เป็นผี หรือจะใช้รากแห้งบดเป็นผงแล้วผสมน้ำพอกบริเวณฝี (ผล,ใบ,ราก,เถา)
40.
ช่วยรักษาแผลบวมเป็นหนอง ด้วยการใช้ผลสดของมะระขี้นกผิงไฟให้แห้งบดเป็นผงแล้วนำน้ำมาทาหรือพอก
หรือใช้ผลสดตำแล้วนำมาพอกก็ได้ (ผล)
41.
ใช้เป็นยาฝาดสมาน (ผล,ราก,ใบ)
42.
ใช้รักษาแผลจากสุนัขกัด ด้วยการใช้ใบสดของมะระขี้นกมาตำให้แหลก แล้วนำมาพอกบริเวณบาดแผล (ใบ)
43.
ประโยชน์ของมะระขี้นก ช่วยรักษาโรคหิด ด้วยการใช้ผลแห้งของมะระขี้นกนำมาบดให้เป็นผง แล้วนำมาโรยบริเวณที่เป็นหิด (ผลแห้ง)
44.
แก้อาการคันหรือโรคผิวหนังต่างๆ ด้วยการใช้ผลแห้งของมะระขี้นกนำมาบดให้เป็นผง แล้วนำมาโรยบริเวณที่คัน
หรือทำเป็นขี้ผึ้งใช้ทาแก้โรคผิวหนังต่างๆ (ผลแห้ง)
45.
ช่วยดับดิบพิษฝีร้อน (ใบ)
46.
ช่วยรักษาโรคลมเข้าข้อ อาการเท้าบวม (ผล,ราก)
47.
ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยจากลมคั่งในข้อ (ใบ)
48.
ช่วยแก้อาการปวดตามข้อนิ้วมือนิ้วเท้า (ผล,ราก)
49.
แก้อาการฟกช้ำบวม (ผล,ใบ)
50.
ช่วยต่อต้านเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ โปรโตซัว เชื้อมาลาเรีย (ผล)
51.
ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ด้วยการใช้เมล็ดแห้งของมะระขี้นกประมาณ 3 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม(เมล็ด)
52.
มะระขี้นก สามารถนำมาใช้ทำแกงจืดมะระยัดไส้หมูสับได้เช่นเดียวกับมะระจีน แต่ต้องต้มนานหน่อยเพิ่มลดความขม หรือจะนำมาทำ
เป็นอาหารเผ็ดก็ได้ เช่น แกงเผ็ด พะแนงมะระขี้นกยัดไส้ หรือจะนำไปผัดกับไข่ก็ได้เช่นกัน
53.
ใบมะระขี้นกนิยมนำมารับประทานอาหาร (แต่ไม่นิยมกินสดๆ เพราะมีรสขม)
54.
ประโยชน์มะระขี้นกา แถวอีสานนิยมนำใบมะระขี้นกใส่ลงไปในแกงเห็ดเพื่อทำให้แกงมีรสขมนิดๆ และช่วยเพิ่มความกลมกล่อม
 
มากขึ้น และนำยอดมะระมาลวกเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกหรือปลาป่นก็ได้เช่นกัน
   
 
 
        
 
 
ข้อควรระวังอันตรายจาก มะระขี้นก
 
ผู้ที่ห้ามรับประทานมะระขี้นก ได้แก่ผู้ที่ม้ามเย็นพร่อง กระเพาะเย็นพร่อง หากรับประทานเข้าไปอาจจะทำให้มีอาการอาเจียน ถ่ายท้อง ปวดท้องได้ และควรรับประทานในปริมาณที่พอดี อย่าทำอะไรเกินเลย เช่นการดื่มน้ำมะระขี้นกก็อย่าขมจัด เพราะจะทำให้ตับทำงานหนัก และสำหรับหญิงตั้งครรภ์อาจจะทำให้ตกเลือดหรือแท้งได้หากรับประทานเกินขนาดหรือกินมะระขี้นกที่เริ่มสุกแล้ว เนื่องจากมะระขี้นกที่สุกแล้วจะมีสารซาโปนิน (Saponin) ในปริมาณมาก การรับประทานมากอาจทำให้มีอาการอาเจียน ท้องร่วงได้ และอาจทำให้ถึงขึ้นเสียชีวิต เพราะฉะนั้นห้ามรับประทานแบบสุกๆ จะดีที่สุด
 
 
 
 
การกินมะระขี้นก เพื่อเป็นอาหาร นับได้ว่าเป็นพืชผักที่ปลอดภัยจากสารเคมี เนื่องจากมะระขี้นก เจริญเติบโตได้ง่ายในธรรมชาติ ไม่ต้องการเอาใจใส่ มีลักษณะคล้ายผักบุ้ง เพี่ยงแต่ต้นใบและผลของมะระ จะมีรสขม ซึ่งไม่เป็นที่ต้องการของพวกแมลงศัตรูพืช มะระขี้นกจึงไม่ค่อยมีแมลงมารบกวน ทำให้มียอดผักและผลสวยๆ เสมอ ส่วนรสขมๆ นั่นจัดเป็นยาสมุนไพรอย่างดีสำหรับมนุษย์เรา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องไม่กินมากจนเกินไป ควรจะกินให้เกิดการสมดุลย์ตามธรรมชาติ จึงจะเกิดประโยชน์ต่อร่างกายสุงสุด และที่สำคัญไม่ควรกินผลมะระขี้นกสุก เพราะจะมีปริมาณสาร สารซาโปนิน (Saponin) สูง ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อร่างการได้ง่าย
 
 
รวมรูปภาพของ มะระขี้นก
 
 
 
 
 
ความสำคัญของเกษตรอินทรีย์
 
แนวความคิด ของการทำเกษตรอินทรีย์ แบบยั่งยืน
แล้วคำว่า "เกษตรอินทรีย์" มันคือการเกษตรอะไรกันแน่....
ความสำคัญเกี่ยวกับ การทำเกษตรที่เป็นเกษตรอินทรีย์ 100 เปอร์เซนต์
     
           
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พันธมิตรโฆษณา
 

 

 
 
 
 
     
 
 
    ติดต่อเวบมาสเตอร์ :    
 
 
             
สงวนลิขสิทธิ์โดย.....
ไร่พอใจ เกษตรอินทรีย์
 
ที่อยู่บริษัท.....
121 หมู่ 6 ต.กุดจอก อ.หนองมะโมง
จ.ชัยนาท 10270
 
เบอร์โทรศัพท์.....
093-0367910, 02-9933305
 
เบอร์แฟกซ์์.....
02-9933306    Line ID : raiporjai
 
 
 
อีเมล์ติดต่อ.....
sales@raiporjai.com
 
 
 
 
หัวข้อเมนูหลักในเวบไซต์.....
กลับหน้าหลัก
เกี่ยวกับไร่พอใจ
สินค้าจากไร่พอใจ
เรื่องราวที่ไร่พอใจ
มุมสมาชิก
ติดต่อเวบไซต์
 
 
เมนูอื่นๆ ในเวบไซต์.....
สมัครสมาชิก
สมาชิกล็อกอิน
แจ้งชำระเงินค่าสินค้า
สมาชิกลืมรหัสผ่าน