ข้าวหอมประทุมเทพ อินทรีย์
ข้าวสำหรับชาวนาอินทรีย์
|
|
เรื่องและเรียบเรียงโดย ตุ๊แสนฤทธิ์ |
|
|
|
|
เป็นพันธุ์ข้าวหอมประทุมธานี 1 ที่ผ่านการคัดสายพันธุ์ โดยสมเด็จฟ้าเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยคัดสายพันธุ์ข้าวให้บริสุทธิ์ ตอบสนองต่อปุ๋ยอินทรีย์ได้ดี และสามารถแตกกอได้ดีมาก หาอาหารได้เก่ง ทนต่อโรคพืชและแมลง เป็นพันธุ์ที่เหมาะกับการปลูกในนาอินทรีย์อย่างยิ่ง |
|
|
|
ข้าวหอมประทุมธานี 1 เป็นข้าวที่ได้จากการผสมพันธุ์ข้าว ระหว่างข้าวสายพันธุ์ BKNA6-18-3-2 กับสายพันธุ์ PTT85061-86-3-2-1 โดยศูนย์วิจัยข้าวประทุมธานี เมื่อปี พ.ศ. 2533 และทำการปลูกทดลองในแปลงทดลองในปี พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2536 และทำการคัดเลือกแบบสืบสกุลจากชั่วที่ 2 - 6 จนได้สายพันธุ์ใหม่ชื่อว่า PTT90071-93-8-1-1 หลังจากนั้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2542 ยังทำการทดลองปลูกอีกหลายครั้ง เพื่อทดลองหาคุณภาพของเมล็ด ผลผลิต ลักษณะการต้านทานต่อโรคแมลง และประสิทธิภาพของพันธุ์ข้าว จนกระทั้งในปี พ.ศ. 2543 คณะกรรมการและวิจัยพัฒนากรมวิชาการเกษตร จึงได้รับรองพันธุ์ข้าวเพื่อให้สามารถปลูกแพร่พันธุ์ได้ โดยให้ชื่อว่า ข้าวหอมประทุมธานี 1 เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 |
|
|
|
|
ลักษณะประจำพันธุ์์ ของข้าวหอมประทุมธานี 1 |
|
- มีลำต้นสูงประมาณ 104 - 133 เซนติเมตร |
- เป็นพันธุ์ข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง สามารถปลูกได้ทั้งปี |
- มีอายุจนถึงเก็บเกี่ยว 110-125 วัน |
- ทรงกอตั้ง มีขนตามกาบใบ และปล้องสีเขียว ใบธงยาวทำมุม 45 องศากับลำต้น รวงจะออกอยู่ใต้ใบ |
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง มีขน ส่วนมากมีหางสั้น |
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง 2.1 มิลิเมตร ยาว 7.6 มิลิเมตร หนา 0.7 มิลิเมตร |
- มีปริมาณ อมิโลส 17.8 % |
- คุณภาพข้าวสุก นุ่มเหนียว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ |
- ปริมาณผลผลิต 650 - 774 กิโลกรัมต่อไร่ |
- มีคุณภาพของเมล็ดใกล้เคียงและคล้ายกับข้าวหอมมะลิ 105 |
- ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยกระโดดหลังขาว |
- ต้านทานโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง |
- ไม่ค่อยต้านทานเพลี้ยจักจั่นสีเขียว โรคใบหงิก และโรคใบสีส้ม |
- ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูง ถ้าใส่มากเกินไปจะทำให้ฟางอ่อน ต้นข้าวล้มและให้ผลผลิตน้อย |
- สามารถปลูกได้ในพื้นที่นาชลประทานภาคกลาง |
|
|
|
|
|
|
ปัญหาของการปลูกข้าว พันธุ์หอมประทุทธานี 1 |
|
การปลูกข้าวพันธุ์หอมประทุมธานี 1 ของชาวนา ได้ปลูกต่อเนื่องกันมาอย่างยาวนาน เนื่องจากเป็นพันธุ์ข้าวที่หอม เมล็ดเมื่อนำมาสีแล้วมีลักษณะคล้ายกับข้าวหอมมะลิ 105 เป็นข้าวอ่อนเมื่อนำมาหุงกิน พ่อค้าและโรงสีจึงนิยม นำมาผสมกับข้าวหอมมะลิ 105 ที่ราคาแพง ทำให้ข้าวหอมประทุมธานี 1 ราคาต่อเกวียน สูงกว่าข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงที่มีอายุเก็บเกี่ยวเหมือนกัน บางฤดูขายได้ถึงเกวียนละหมื่นกว่าบาท โดยไม่ต้องพึ่งพิงโครงการจำนำข้าวหรือโครงการประกันราคาข้าวของรัฐเลย ทำให้ชาวนานิยมปลูกกันมาก บางช่วงแทบหาเมล็ดพันธุ์ไม่ได้เลย ทำให้มีการเร่งผลิตเมล็ดพันธุ์จากพ่อค้าที่แสวงหากำไร โดยไม่ได้คำนึงถึงคุณภาพของเมล็ดพันธุ์และผลที่จะตามมา ไม่ได้มีการคัดสายพันธุ์ให้บริสุทธิ์ จึงเกิดการผสมกับพันธุ์อื่นๆ ในแปลงนา และมีการกลายพันธุ์เกิดขึ้น มีข้าวดีด ข้าวนก ผสมปนกัน จนเป็นสาเหตุให้ข้าวหอมประทุมธานี 1 ให้ผลผลิตที่น้อยลงเรื่อยๆ ซึ่งในระยะหลังๆ แทบจะไม่เหลือลักษณะเด่นของข้าวหอมประทุมธานี 1 เหลืออยู่เลย |
|
|
|
|
|
พันธุ์ข้าวหอมประทุมเทพ พันธุ์ข้าวอินทรีย์ ที่คัดพันธุ์โดยสมเด็จฟ้าเทพฯ |
|
ข้าวหอมปทุมเทพ เกิดจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงทำการคัดสายพันธุ์จากข้าวหอมประทุมธานี 1 เดิม โดยนักเรียนชาวนาของ อาจารย์เดชา ศิริภัทร ที่มูลนิธิข้าวขวัญ จ.สุพรรณบุรี เป็นพี่เลี้ยง สมเด็จท่านได้ทรงแนะนำและก็ลงมือคัดสายพันธุ์เอง จากเดิมข้าวหอมประทุม 1 มักมีการกลายพันธุ์ และมีการปนจากข้าวพันธุ์อื่นๆ อันเนื่องมาจากเกษตรกรที่นำไปปลูกไม่ได้ทำการคัดพันธุ์ที่ดีก่อนที่จะนำไปปลูก จึงทำให้ข้าวหอมประทุมธานี 1 ที่ได้มีผลผลิตต่ำลงเรื่อยๆ และแทบจะนำมาปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ไม่ได้เลย เมื่อสมเด็จท่านทรงคัดเลือกเมล็ดพันธุ์และปลูกทดลองจนได้พันธุ์ข้าวหอมประทุมที่คงที่ มีการแตกกอที่ดีมากๆ ตอบสนองต่อปุ๋ยอินทรีย์ได้ดี สามารถนำมาเพาะปลูกในแบบเกษตรอินทรีย์ได้ ที่สำคัญยังให้ผลผลิตสูงอีกด้วย ทางมูลนิธิข้าวขวัญ จึงได้ให้ชื่อข้าวพันธุ์ที่ทรงคัดและปลูกขึ้นใหม่นี้ว่า ข้าวหอมประทุมเทพ |
|
|
|
|
|
ลักษณะประจำพันธุ์ ข้าวหอมประทุมเทพ |
|
โดยส่วนใหญ่ข้าวหอมประทุมเทพ จะมีลักษณะเด่นเหมือนข้าวหอมประทุมธานี 1 พันธุ์เดิม ซึ่งเป็นข้าวเจ้าหอม ไม่ไวต่อช่วงแสง สามารถปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง ทรงกอตั้ง ใบสีเขียว มีขน ใบธงยาว รวงอยู่ใต้ใบ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง มีหางสั้นบางเมล็ด อายุการเก็บเกี่ยว 110-125 วัน ให้ผลผลิต 800-900 กิโลกรัมต่อไร่ คุณภาพเมล็ดคล้ายข้าวขาวมะลิ 105 การหุงต้มข้าวสุก นุ่ม ค่อนข้างเหนียว มีกลิ่นหอม อ่อน ที่สำคัญต้านทานต่อโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง ข้าวหอมประทุมเทพ ยังถูกปรับปรุงคัดพันธุ์ เพื่อให้การแตกกอที่ดีมากๆ สามารถตอบสนองต่อปุ๋ยอินทรีย์ได้ดี จึงเป็นพันธุ์ข้าวที่เหมาะกับชาวอินทรีย์อย่างยิ่ง |
|
|
|
|
|
ทดลองปลูกข้าวหอมประทุมเทพ ที่ไร่พอใจ เกษตรอินทรีย์ |
|
ที่ไร่พอใจ เกษตรอินทรีย์ ได้นำพันธุ์ข้าวหอมประทุมเทพมาปลูกตั้งแต่ปลายฤดูฝน โดยการเพาะเมล็ดพันธุ์ในถาดหลุ่ม และนำไปโยนในแปลงนา ทำการใส่ปุ๋ยเฉพาะปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ พบว่าข้าวหอมประทุมเทพ สามารถแตกกอได้ดีมากๆ ถ้าปลูกอีกครั้งในคราวหน้าคงต้องใช้วิธีการปาเป้าหรือดำแทนการโยนกล้า เพราะระยะห่างจากการโยนกล้าควบคุมไม่ได้ ทำให้บางพื้นที่ข้าวหนาจนเกินไป |
|
การออกรวงของข้าวหอมประทุมเทพ จะออกใต้ใบทำให้มองดูรวงแทบไม่ค่อยเห็นสักเท่าไหร่ ช่วงที่ข้าวออกรวงเป็นช่วงฤดูหนาว อุณหภูมิโดยเฉลี่ยต่ำลงมาก คราวนี้ที่ไร่พอใจไม่ได้ฉีดพ่นธาตุสังกะสี หรือสารหมักใดๆ เพื่อป้องกันอากาศเปลี่ยนแปลง แต่ข้าวหอมประทุมเทพ ก็ยังสามารถออกรวงได้ดี ไม่อั้นหดเหมือนข้าวพันธุ์อื่นๆ ลักษณะรวงข้าวใหญ่และยาวสมบูรณ์ดี |
|
|
|
|
|
หลังจากออกรวงได้ 30 วัน รวงข้าวก็มีสีเหลืองอร่ามเต็มท้องทุ่ง ข้าวถูกปล่อยให้แก่จนแห้งกลางนา เพื่อจะนำไปเป็นเมล็ดพันธุ์อย่างเดียว ที่ไร่พอใจ เราลงมือเกี่ยวข้าวด้วยมือ เพื่อจะได้คัดเป็นพันธุ์สำหรับเอาไว้ปลูกในฤดูถัดไป เมล็ดข้าวหอมประทุมเทพที่ได้ มีลักษณะเมล็ดที่อ้วนและยาวเมล็ดใหญ่ดี เป็นลักษณะเมล็ดที่โรงสีและพ่อค้าข้าวต้องการ ถึงแม้ข้าวจะออกรวงช่วงปลายฤดูหนาว อากาศก็หนาวเย็นและขาดน้ำเป็นช่วงๆ แต่ข้าวหอมประทุมเทพแปลงนี้ก็สามารถสร้างรวงที่มีคุณภาพ ทนต่อโรคภัย ออกรวงมาจนได้ คงต้องคอยดูการปลูกในช่วงฤดูฝนของปีหน้าต่อไป |
|
|
|
รวมรูปภาพของพันธุ์ข้าวหอมประทุมเทพ ที่ไร่พอใจ เกษตรอินทรีย์ |
|
|
|
|
|
|
|
ความสำคัญของเกษตรอินทรีย์ |
|
|
แนวความคิด ของการทำเกษตรอินทรีย์ แบบยั่งยืน |
|
แล้วคำว่า "เกษตรอินทรีย์" มันคือการเกษตรอะไรกันแน่.... |
|
ความสำคัญเกี่ยวกับ การทำเกษตรที่เป็นเกษตรอินทรีย์ 100 เปอร์เซนต์ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|