ข้าวหอมมะลิ 105 ข้าวแสนอร่อยของคนไทย
ข้าวหอมนุ่มเหนี่ยว
ข้าวสายพันธุ์อินทรีย์ ที่ไร่พอใจ |
|
เรื่องและเรียบเรียงโดย ตุ๊แสนฤทธิ์ |
|
|
|
|
ข้าวหอมมะลิ 105 เป็นข้าวที่คนไทยรู้จักชื่อกันแทบทุกคน เพราะเป็นข้าวที่หุงแล้วนุ่มและมีกลิ่นหอมเหมือนใบเตย มีราคาแพงในท้องตลาด แต่คนไทยส่วนใหญ่มักจะแยกแทบไม่ออกว่า ข้าวหอมมะลิ 105 กระสอบไหนเป็นของแท้หรือของเทียม เนื่องจากพ่อค้าหัวใสได้แอบผสมข้าวขาวธรรมดาแถมมาให้ตลอด ส่วนข้าวหอมมะลิ 105 เกรด A 100% มักจะถูกส่งไปขายยังตลาดต่างประเทศแทน |
|
|
|
ข้าวหอมมะลิ 105 เป็นข้าวไวต่อช่วงแสง หมายถึงเป็นข้าวที่จะออกดอกผลิตรวงในช่วงวันที่มีกลางคืนยาวกว่ากลางวันเท่านั้น ซึ่งก็คือช่วงฤดูหนาวของทุกปี จึงทำให้ข้าวพันธุ์นี้สามารถปลูกได้เพียง 1 ครั้ง ใน 1 ปีเท่านั้น ชาวนาจึงนิยมปลูกกันน้อย เพราะปลูกข้าวพันธุ์อื่นๆ จะสามารถปลูกได้ 2-3 รอบและยังได้ผลผลิตที่สูงกว่า ข้าวหอมมะลิ 105 จึงเป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะถ้าปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ |
|
|
|
|
|
ลักษณะประจำพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 อินทรีย์ |
|
ข้าวหอมมะลิ 105 หรือข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีลักษณะเด่นเป็นพิเศษคือ เมล็ดข้าวสารยาวเรียวสีขาวสวยมีกลิ่นหอมเหมือนใบเตย เมื่อนำมาหุงยังคงมีกลิ่นหอมและอ่อนนิ่ม มีรสชาติดี เมื่อนำไปปลูกจะทนแล้ง ทนดินเปรี้ยว และดินเค็ม พบครั้งแรกในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี โดย นายจรูญ ตัณฑวุฒ ได้นำมาปลูกไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 และในปี 2500 กรมการข้าว กระทรวงเกษตรได้รวบรวมข้าวพันธุ์ดีของประเทศจากอำเภอบางคล้าจำนวน 199 รวง ส่งไปปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวโคกสำโรง และพบว่าต้นข้าวแถวที่ 105 ดีที่สุดมีเมล็ดยาว เรียว ขาวใส มีกลิ่นหอม จึงคัดเลือกแถวที่ 105 มาเป็นแม่พันธุ์ คณะกรรมการได้ตั้งชื่อให้ว่า ข้าวขาวดอกมะลิ 105 |
|
|
ลักษณะประจำพันธุ์ของข้าวหอมมะลิ 105 อินทรีย์ |
|
|
|
|
|
|
ต้นข้าวจะมีความสูง |
140 ซม. |
|
อายุเก็บเกี่ยว |
เดือนพฤษจิกายน |
|
ผลผลิตโดยเฉลี่ย |
365 กก. / ไร่ |
|
เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา |
10.6 x 2.5 x 1.9 ม.ม. |
|
เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา |
7.5 x 2.1 x 1..8 ม.ม. |
|
ปริมาณอมิโลส |
12-17 % |
|
น้ำหนักข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด |
เฉลี่ย 27.7 กรัม |
|
ระยะพักตัวของเมล็ด |
8 สัปดาห์ |
|
อมิโลส |
12-17 % |
|
อมิโลส |
12-17 % |
|
อมิโลส |
12-17 % |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ลักษณะของข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นข้าวไวแสง คือจะออกรวงประมาณเดือนพฤศจิกายนและเก็บเกี่ยวในเดือนธันวาคมในช่วงกลางคืนยาวกว่ากลางวันเท่านั้น ซึ่งเป็นช่วงกลางฤดูหนาวพอดี จึงปลูกได้ปีละครั้งเท่านั้น ข้าวหอมมะลิ 105 มีลำต้นของต้นข้าวสีเขียวจาง ใบสีเขียวยาวค่อนข้างแคบ ความสูงประมาณ 140 ซม. มีลักษณะฟางข้าวที่อ่อน ใบธงทำมุมกว้างกับรวงเมล็ดข้าวรูปร่างเรียว การออกรวงจะโชว์รวงสวยงามเต็มท้องทุ่ง เมื่อข้าวเปลือกสุกจะเปลี่ยนเป็นสีฟาง เมล็ดข้าวยาวเรียวมากกว่า 7 มิลลิเมตรขึ้นไป เมล็ดมีความใส แกร่ง เลื่อมมัน ความหอมของข้าวเกิดจากสารประกอบ 2-Acetyl-1-Pyrroline (2AP) มีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย เวลาต้มหรือหุ่งสุกจะมีกลิ่นหอม อ่อนนุ่ม |
|
|
|
|
|
ความหอมของกลิ่นใบเตยของข้าวหอมมะลิ 105 นั้น เกิดจากสารระเหยที่มีชื่อว่า2-acetyl-1-pyroline ถ้าวันดีคืนดี สารนี้จะระเหยหายไป ทำให้ความหอมที่อยู่ในข้าวหอมมะลิ 105 ได้นั้นหายตามไปด้วย เพราะฉะนั้นเราจะต้องเก็บข้าวหอมมะลิไว้ในที่ๆ มีความเย็นอยู่ที่ อุณหภูมิประมาณ 15 องศา |
|
ข้าวหอมมะลิ 105 เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่แห้งแล้ง ไม่ต้องการน้ำมาก ทนต่อสภาพดินเปรี้ยว และดินเค็ม ถ้านำไปปลูกในพื้นที่ที่น้ำไหลผ่านตลอดเวลา ข้าวจะแตกกอได้ดี เจริญเติบโตได้เร็ว เป็นข้าวที่ต้องการปุ๋ยมาก ตอบสนองต่อปุ๋ยอินทรีย์ได้ดี เวลาปลูกต้องระวังโรคขอบใบแห้ง โรคไหม้ โรคใบสีสีส้ม และโรคใบหงิก (จู๋) ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว หนอนกอ เมื่อข้าวแก่มักจะล้มง่าย น้ำหนักเมล็ดเบาได้ผลผลิตน้อย มีผลผลิตที่ต่ำเพียง 365 กิโลกรัมต่อไร่เท่านั้น |
|
สารอาหารที่มีประโยน์ต่อร่างกาย ในข้าวกล้องหอมมะลิ 105 อินทรีย์ |
|
ข้าวกล้องหอมมะลิ 105 เป็นข้าวที่ผ่านการกระเทาะเปลือก แต่ไม่ถูกขัดสี ข้าวจึงยังคงมีเยื้อหุ้มเปลือก และจมูกข้าวที่คงคุณค่าและมีประโยชน์ต่อร่างกาย ในเมล็ดข้าวกล้องมี วิตามินบีรวมช่วยป้องกันและบรรเทาอาหารอ่อนเพลีย แขน ขาไม่มีแรง ปวดกล้ามเนื้อ โรคผิวหนังบางชนิด บำรุงสมองทำให้เจริญอาหาร สารอาหารต่างๆ ในข้าวกล้องหอมมะลิ 105 อินทรีย์ มีดังนี้ |
|
|
|
วิตามินบี 1 ช่วยป้องกันโรคเหน็บชาได้ |
|
|
วิตามินบี 2 ป้องกันโรคปากนกกระจอก |
|
|
ฟอสฟอรัส ช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน |
|
|
แคลเซียม ทำให้กระดูกแข็งแรง ช่วยป้องกันไม่ให้เป็นตะคริว |
|
|
ทองแดง สร้างเมล็ดโลหิต และเฮโมโกลบิน |
|
|
ธาตุเหล็ก ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง |
|
|
โปรตีน ช่วยเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอ |
|
|
ไขมัน ให้พลังงานแก่ร่างกาย ไขมันในข้าวกล้องเป็นไขมันที่ดี ไม่มีโคเรสเตอรอล |
|
|
ไนอะซิน ช่วยระบบผิวหนังและเส้นประสาท และป้องกันโรคเพลลากรา (โรคที่เกิดจากการขาดไนอะซิน จะมี อาการท้องเสีย ประสาทไหว โรคผิวหนัง) |
|
|
คาร์โบไฮเดรต ให้พลังงานแก่ร่างกาย |
|
|
ข้าวกล้องมีกากอาหารมาก ซึ่งจะทำให้ท้องไม่ผูก และช่วยป้องกันมะเร็งในลำไส้อีกด้วย |
|
|
วิตามินและเกลือแร่ต่างๆ ในข้าวกล้องจะช่วยให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ถึงเวลาออกรวงของ ข้าวกล้องหอมมะลิ 105 อินทรีย์ |
|
|
|
|
|
ข้าวเป็นพืชที่ออกดอกโดยมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ดังนั้นจึงอาศัยเพียงแรงลมพัดก็สามารถผสมเกสรกันได้ ช่วงการผสมเกสรของดอกข้าวจะใช้เพียงระยะเวลาสั้นๆ เพียง 1-2.5 ชั่วโมงเมื่อกลีบดอกเริ่มบานในช่วงเช้าของวัน ในหนึ่งช่อดอก (1 รวงข้าว) จะประกอบไปด้วยดอกข้าว 100-200 ดอก ซึ่งจะมีการบานของดอกไม่พร้อมกันโดยจะทยอยเริ่มบานไปเรื่อยๆ ใช้เวลาประมาณ 7 วัน และใช้เวลาอีก 30 วันในการเจริญเติบโตกลายเป็นเมล็ดข้าวที่พร้อมจะให้เราเก็บเกี่ยว อายุการออกดอกของข้าวแต่ละสายพันธุ์จะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับอายุของข้าวพันธุ์นั้นและประเภทของข้าวที่ไวต่อช่วงแสงหรือไม่ไวต่อช่วงแสง ส่วนข้าวหอมมะลิ 105 จะออกดอกช่วงเดือนนี้เสมอ
|
|
|
|
|
|
เกสรตัวผู้ของดอกข้าวจะมีความอ่อนแอกว่าเกสรตัวเมีย ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 18 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า 42 องศาเซลเซียส เกสรตัวผู้จะตาย ทำให้เกิดเมล็ดข้าวลีบ และในช่วง 7 วันที่ข้าวออกดอกหรือชาวบ้านมักจะเรียกว่า ข้าวตากเกสร หากมีการฉีดพ่นน้ำหมักจุลินทรีย์ที่มีความเข็มข้นสูงก็จะไปทำลายเกสรตัวผู้ได้ ลักษณะข้อด้อยเช่นนี้ของดอกข้าวกลับเป็นผลดีต่อการผสมพันธุ์ข้าวข้ามสายพันธุ์เพื่อให้เกิดเป็นพันธุ์ข้าวใหม่ๆ เช่น ข้าวไรซ์เบอรี่ ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ของข้าวหอมมะลิ 105 กับข้าวหอมนิลจักรพรรดิ์ เป็นต้น โดยจะใช้ไอร้อนที่อุณหภูมิประมาณ 43 องศาเซลเซียสไปทำลายเกสรตัวผู้ แต่เกสรตัวเมียไม่เป็นไร แล้วหาเกสรตัวผู้จากข้าวพันธุ์อื่นมาผสมแทนได้ |
|
|
|
|
|
หลังจากดอกข้าวได้รับการผสมเกสร และพัฒนาเป็นเมล็ดข้าวเริ่มสะสมแป้ง ผ่านช่วงระยะน้ำนม จนน้ำในเมล็ดข้าวค่อยๆ ระเหยออกไป เกิดเป็นเนื้อแป้งแข็งใส รวงข้าวจะเริ่มโน้มโค้งลง แสดงให้เห็นถึงน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นในแต่ละเมล็ดข้าว เปลือกของเมล็ดข้าวจะเริ่มเปลี่ยนสีจากสีเขียวเป็นสีฟางข้าวหรือสีน้ำตาล พร้อมกับใบและต้นข้าวก็เริ่มเปลี่ยนสีเช่นกัน เกิดเป็นสีเหลืองอร่ามในท้องทุ่งสุดตา ระยะเปลียนสีนี้จะค่อยๆ เป็นไป ใช้เวลานานถึง 30 วัน แต่ถ้าอากาศหนาวเย็นมากๆ ระยะเวลาจะถูกยืดไปได้ถึง 60 วัน เช่นข้าวที่ปลูกในประเทศญี่ปุ่น |
|
|
|
|
|
หลังจากรวงข้าวเริ่มโผล่พ้นออกจากต้นข้าวและผสมเกสรกัน จนกลายเป็นเมล็ดสุกเหลื่องอร่ามเต็มท้องทุ่ง ซึ่งต้องใช้เวลานานถึง 30 วัน ระยะนี้เป็นระยะสวยพลับพลึงหรือบางภาคเรียกว่าระยะเหลืองกล้วย สังเกตง่ายๆ คือ ข้าวในแต่ละรวงสุกเหลืองประมาณ 3 ใน 4 ส่วน ก่อนถึงช่วงนี้ 7- 10 วันควรต้องรีบระบายน้ำออกจากแปลงนาให้หมดเพื่อให้ข้าวสุกเสมอกัน การเก็บเกี่ยวข้าวในระยะนี้จะได้ข้าวที่มีคุณภาพดี คือเมื่อนำไปลดความชื้นแล้วสีเป็นข้าวสาร จะได้ข้าวเต็มเมล็ด นอกจากนี้ข้าวในระยะพลับพลึงจะยังคงมีความชื้นสูง 21-24% เมล็ดข้าวจะร่วงหล่นได้ยาก จึงทำให้เกิดการสูญเสียน้อยลง ข้าวระยะพลับพลึงจะมีความชื้นสูงกว่ามาตรฐาน (14%) ดังนั้นจะต้องทำการลดความชื้นของข้าวเปลือกที่เก็บเกี่ยวได้ในทันทีโดยการอบด้วยเครื่องอบลดความชื้นหรือโดยการตากแดด |
|
|
|
|
|
ข้าวกล้องหอมมะลิ 105 อินทรีย์ ที่ไร่พอใจ เกษตรอินทรีย์ |
|
ที่ไร่พอใจ เกษตรอินทรีย์ เราพยายามหาเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 ที่เป็นสายพันธุ์ที่ปลูกจากนาอินทรีย์มาปลูก เพื่อยังคงสายพันธุ์เดิม ทนโรค ทนแมลง ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ได้ดี หาอาหารเองได้เก่ง ไม่เป็นต้นข้าวปัญญาอ่อนที่ต้องคอยทะนุถนอมอยู่ตลอดเวลา การคัดเลือกเก็บเมล็ดพันธุ์ เพื่อไม่ให้มีความผิดพลาดและการปนจากข้าวพันธุ์อื่นๆ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในขั้นตอนการเก็บเกี่ยวมากที่สุด เนื่องจากต้องใช้เวลา แรงงานและความอดทนเป็นอย่างมาก ชาวนาส่วนใหญ่จึงหันมาใช้บริการเก็บเกี่ยวจากรถเกี่ยวนวดข้าวแทน ซึ่งรถเกี่ยวนวดข้าวก็มักจะเกี่ยวข้าวมาจากนาทุ่งอื่นๆ มาแล้วหลายๆ ทุ่ง จึงเกิดการปนเปื้อนของเมล็ดพันธุ์ขึ้น ที่ไร่พอใจเราจึงเอาใจใส่ต่อการเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวอย่างยิ่ง เริ่มตั้งแต่การเกี่ยวข้าวจากแปลงนาโดยใช้คนเลือกเกี่ยว การนวดด้วยเครื่องนวด การพัดวีข้าวเพื่อแยกสิ่งเจือปนด้วยเครื่องสีฝัด และสุดท้ายการคัดเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยเครื่องคัดเมล็ดพันธุ์เพื่อคัดเมล็ดที่ดี ได้เมล็ดใหญ่มีน้ำหนักที่ดี |
|
|
รวมรูปภาพ ข้าวกล้องหอมมะลิ 105 อินทรีย์ |
|
|
|
|
|
|
|
ความสำคัญของเกษตรอินทรีย์ |
|
|
แนวความคิด ของการทำเกษตรอินทรีย์ แบบยั่งยืน |
|
แล้วคำว่า "เกษตรอินทรีย์" มันคือการเกษตรอะไรกันแน่.... |
|
ความสำคัญเกี่ยวกับ การทำเกษตรที่เป็นเกษตรอินทรีย์ 100 เปอร์เซนต์ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|