จุลินทรีย์หลากหลายสายพันธุ์
สรรค์สร้างดินดี เพื่อดินที่มีชีวิต
|
|
เรื่องและเรียบเรียงโดย ตุ๊แสนฤทธิ์ |
|
|
|
|
ดินดี คือดินที่มีชีวิต เป็นดินที่มีความสมดุลของสิ่งมีชีวิตในดินรวมถึงจุลินทรีย์ที่อยู่ในดิน สมดุลของจุลินทรีย์ที่มีชิวิตอยู่ในดินตามสภาพธรรมชาติ ต้องมีความเหมาะสมทั้งในด้านจำนวนและความหลากหลายสายพันธุ์ ดินจึงจะเป็นดินที่เหมาะกับการทำเกษตรตามธรรมชาติ ตัวอย่างดินชนิดนี้ที่พบเห็นได้ง่าย คือดินที่อยู่ใจกลางป่า เป็นดินที่ต้องการเวลาเพื่อความอุดมสมบูรณ์ |
|
|
|
จุลินทรีย์ (Microorganisms) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีชนิดหรือสปีชีส์มากที่สุดเมื่อเทียบกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น จุลินทรีย์มีความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งในเชิงของชนิดทางพันธุกรรม และแหล่งที่อยู่อาศัย เมื่อเทียบกับสิ่งมีชีวิตกลุ่มอื่น เชื่อกันว่าจำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมดที่นักจุลชีววิทยาพบ และศึกษาจนถึงปัจจุบันคิดเป็นประมาณ1 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมดบนโลก เมื่อพิจารณาจากคุณสมบัติในการเป็นเซลล์ของจุลินทรีย์ เราสามารถแบ่งจุลินทรีย์ออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ จุลินทรีย์ที่มีลักษณะเป็นเซลล์ เช่น แบคทีเรีย (Bacteria) เชื้อรา (Fungi) สาหร่าย (Alga) และโพรโทซัว (Protozoa) และจุลินทรีย์ที่มีลักษณะเป็นอนุภาค เช่น ไวรัส (Viruses) |
|
|
|
|
|
ความอุดมสมบูรณ์ ของของดินในป่า |
|
ในสภาพของดินในป่าธรรมชาติ มักจะมีสารอินทรีย์ซึ่งอยู่ในรูปของใบไม้หรือซากพืชซากสัตว์อยู่เป็นจำนวนมาก สารอินทรีย์เหล่านี้จะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ โดยจะเปลี่ยนสารอินทรีย์ให้เป็นธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ทำให้การเจริญเติมโตและสร้างผลผลิตของพืชเป็นไปอย่างสมบูรณ์ ขบวนการในการเติมสารอินทรีย์และการใช้ธาตุอาหารจากดินของพืช จะเป็นไปอย่างสมดุลตามธรรมชาติ โดยที่ไม่จำเป็นต้องพึงพิงกระบวนการจากภายนอกเลย ทั้งจำนวนจุลินทรีย์ก็มีอย่างหลากหลายชนิด หลายสายพันธุ์ และมีเป็นจำนวนมาก มีวงจรชิวิตที่สั้น เกิดและตายไปอย่างรวดเร็ว ระบบนิเวศในดินป่าจึงหมุนเวียนเป็นไปอย่างสมดุล พืชพันธุ์ไม้ต่างๆ จึงเจริญเติบโตได้อย่างอุดมสมบูรณ์ และให้ผลผลิตที่ดี ดินในป่าจึงเป็นตัวอย่างอย่างดีสำหรับเกษตรกรแนวอินทรีย์ ที่จะเรียนแบบตามธรรมชาติ โดยใช้จุลินทรีย์ที่หลากหลายและมีเป็นจำนวนมาก มาช่วยในการเร่งพื้นฟูและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับแปลงเกษตรกรเอง |
|
|
|
|
|
ชนิดของจุลินทรีย์ ที่มีประโยชน์ต่อการทำเกษตรอินทรีย์ |
|
จุลินทรีย์ที่มีบทบาท ต่อการทำเกษตรกรรม มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา แอคโนมัยซิท สาหร่าย โปรโตซัว และไวรัส จุลินทรีย์บางชนิดเป็นจุลินทรีย์ที่ดีมีประโยชน์ต่อการทำการเกษตร แต่บางชนิดก็เป็นจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคต่อพืช แต่หากทุกอย่างเป็นไปอย่างสมดุล หรือส่งเสริมให้มีจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์เป็นจำนวนมากกว่าจุลินทรีย์ก่อโรค พืชพันธุ์ต่างๆ ก็จะแข็งแรงเจริญเติบโตได้ดี |
|
จุลินทรีย์์ แบคทีเรีย (Bacteria) |
|
จุลินทรีย์กลุ่มที่เป็นแบคทีเรียนี้ จะมีเป็นจำนวนมากที่สุด ประมาณ 80%-90% ของจำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมด มีหลากหลายสายพันธุ์ ที่รวมตัวกันอยู่ในกองปุ๋ยหมัก และในหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำขายเป็นการค้า มักมีลักษณะรูปร่างของจุลินทรีย์เป็นแบบง่ายๆ 3 รูปร่าง คือ กลม เป็นท่อน และเป็นเกลียว ไม่มีรงควัตถุภายในเซลล์ คือ เซลล์มักจะเป็นลักษณะใสๆ มีทั้งเคลื่อนที่ได้และไม่ได้ เติบโตได้ในอุณหภูมิหลายระดับ โดยขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ มีทั้งแบบที่ต้องการออกซิเจน และไม่ต้องการออกซิเจน อาศัยอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ โดยเฉพาะในดินป่าที่ชื่น มีบทบามอย่างมากในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุและปลดปล่อยธาตุอาหารที่สำคัญให้กับพืช ตัวอย่างของแบคทีเรียที่เรารู้จักคุ้นหูกันดี เช่น บาซิลลัสทูริงจิเอนซิส หรือเรียกสั้นๆ ว่าเชื่อบีที เชื้อแลคโตบาซิลลัส จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (โฟโต้ทรอปฟิคแบคทีเรีย) จุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติกและกรดอะซิติก เชื้อไรโซเบียม ฯลฯ |
|
|
|
|
|
|
จุลินทรีย์ กลุ่มที่เป็นเชื้อรา (Funji) |
|
จุลินทรีย์กลุ่มเชื้อรามักจะพบในกองปุ๋ยหมักเสมอ มักจะพบเติบโตในช่วงแรกๆ ของการหมักกองปุ๋ย และจะพบบริเวณด้านนอกผิวของกองปุ๋ยหมักเป็นจำนวนมาก เมื่อกองปุ๋ยหมักมีอุณหภูมิสูงขึ้นถึง 65 องศาเซลเซียส จะไม่พบเชื้อรา แต่จะพบเชื้อแบคทีเรียแทน เชื่อราจะมีประโยชน์ในการย่อยสลายเศษวัสดุอินทรีย์ในกองปุ๋ยหมักให้มีขนาดเล็กลงใรระยะแรกๆ ของการหมักปุ๋ย จุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อราแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือยีสต์ (Yeasts) และราเส้นใย |
|
|
|
|
|
จุลินทรีย์เชื้อรา กลุ่มยีสต์ (Yeasts) |
|
ยีสต์ เป็นเชื้อราซึ่งมีลักษณะการดำรงชีวิตอยู่ในสภาพเซลล์เดียว แทนที่จะเจริญเติบโตเป็นเส้นใยเหมือนเชื้อราอื่นๆ ทั่วไป ถึงแม้ยีสต์บางชนิดจะสร้างเส้นใยบ้างแต่ก็ไม่เด่นชัด การเพิ่มจำนวนจะอาศัยการแบ่งตัวหรือแตกหน่อไม่อาศัยเพศ มีรูปร่างกลมเมื่ออายุน้อย และรูปร่างรีเมื่ออายุมาก มีขนาดที่ใหญ่กว่าเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ทำให้เกิดกระบวนการหมักโดยจะเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นเอทิลแอลกอฮอล์ และคาร์บอนไดออกไซด์ ปกติยีสต์จะอยู่ที่ผิวหน้าของวัสดุที่หมัก โดยจะเป็นฟองที่ลอยเป็นฝ้าอยู่ที่ผิวของน้ำหมัก นอกจากนี้ยีสต์ยังผลิตวิตามินและฮอร์โมนในระหว่างระบวนการหมักด้วย และยิสต์จะสามารถเจริญเติบโตได้ดีในค่าความเป็นกรดสูงระหว่าง 4.0 - 6.5 ซึ่งที่ค่าความเป็นกรด-ด่างขนาดนี้นั้น จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดการเน่าเสีย จะเจริญเติบโตไม่ได้ ดังนั้นในการหมักเมื่อเกิดกลิ่นแอลกฮอล์ขึ้น จึงแสดงให้เห็นว่าขบวนการหมักมีคุณภาพและเป็นการหมักที่สมบูรณ์ |
|
|
|
|
|
จุลินทรียเชื้อรา กลุ่มที่เป็นราเส้นใย |
|
จุลินทีย์เชื้อรา กลุ่มที่เป็นเส้นใย จะมีการดำรงชีวิตแบบหลายเซลล์ โดยส่วนใหญ่มีลักษณะการเจิญเติบโตเป็นเส้นใย ซึ่งอาจจะมีผนังกั้น หรืไม่มีก็ได้ เชื้อรากลุ่มนี้เป็นจุลินทรีย์ที่มีความหลากหลาย มีความแตกต่างกันมากในด้านขนาดและรูปร่าง อาศัยการสืบพันธุ์ด้วยการสร้างสปอร์ ซึ่งมีทั้งสปอร์ที่อาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ เป็นจุลินทรีย์ที่ต้องการอากาศ พบเห็นอยู่ที่ริมผิวหน้าของน้ำหมักหรือปุ๋ยหมัก |
|
|
|
|
|
จุลินทรีย์ แอคติโนมัยชิท (Actinomycetes) |
|
แอคติโนมัยชิท เป็นจุลินทรีย์จำพวกเซลล์เดียว ที่มีลักษณะคล้ายคลึงทั้งแบคที่เรียและเชื้อรา โดยมีขนาดเล็กคล้ายแบคทีเรีย แต่มีการเจริญเติบโตเป็นเส้ยใย และสร้างสปอร์คล้ายเชื้อรา มีเส้นใยที่ยาวเรียวและอาจจะแตกสาขาออกไป ส่วนของเส้นใยที่สัมผัสกับอากาศแห้งจะมีการเปลี่ยนรูปไปเป็นสปอร์ ซึ่งใช้ในการแพร่พันธุ์เช่นเดียวกันกับเชื้อรา มีการเจริญเติบโตที่ช้ากว่าแบคทีเรียและเชื้อรา การเจริญเติบโตจะต้องอาศัยอากาศและออกซิเจนในอุณหภูมิ 65-75 องศาเซสเซียส ลักษณะของเชื้อแอคโนมัยชิทที่พบบนกองปุ๋ยหมักจะเจริญเติบโตเป็นกลุ่ม เห็นเป็นจุดสีขาวคล้ายๆ ผงปูนหลังจากที่อุณหภูมิของกองปุ๋ยสูงขึ้นมาก เชื้อแอคโนมัยชิทนี้มีบทบาทที่สำคัญในการย่อยอินทรีย์สาร เช่น เซลลูโลส ลิกนิน ไคติน และโปรตีน ที่อยู่ในกองปุ๋ยหมักขณะที่อุณหภูมิสูง |
|
|
|
|
|
จุลินทรีย์ที่เป็น สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน |
|
สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน แตกต่างจากจุลินทรีย์ชนิดอื่น ตรงที่มีคลอโรฟิลล์ มักเห็นเซลล์เป็นสีเขียว มีลักษณะเซลล์เหมือนแบคทีเรีย สาหร่ายพวกนี้ไม่มีคลอโรพลาสต์ ดังนั้นคลอโรฟิลล์จึงกระจายอยู่ทั่วไปในเซลล์ เจริญเติบโตได้ดีในนาข้าว สามารถตรึงไนโตเจนจากอากาศได้ถึงประมาณ 10-20 กิโลกรัมต่อไร่ มักอาศัยพึ่งพาอยู่กับแหนแดง ซึ่งเป็นเฟิร์นน้ำขนาดเล็กๆ ทำให้แหนแดงเป็ยปุ๋ยพืชสดอย่างดีในนาข้าว |
|
|
|
|
|
จุลินทรีย์ โปรโตซัว (Protozoa) |
|
โปรโตซัว เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวขนาดเล็กที่จัดได้ว่ามีความสำคัญมากในระบบนิเวศ อาศัยอยู่ในน้ำ ในดิน หรือเป็นปรสิต ชนิดที่เป็นปรสิตบางชนิดอาศัยอยู่ในทางเดินอาหารของปลวก เพื่อช่วยย่อยเนื้อไม้ จุลินทรีย์โปรโตซัวมีความสำคัญมากเพราะสามารถย่อยสลายอินทรีย์วัตถุได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบันจึงมีเกษตรกรนำเอาจาวปลวก มาหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่อนำไปย่อยสลายฟางข้าวในนาและทำปุ๋ยหมัก |
|
|
จุลินทรีย์ ไวรัส (Protozoa) |
|
ไวรัสเป็นปรสิตอยู่ในร่างของสิ่งมีชีวิตอื่น ไม่สามารถเติบโตหรือแพร่พันธุ์นอกเซลล์อื่นได้ ไวรัสอาจถือได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีลักษณะของการเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงประการเดียวคือสามารถแพร่พันธุ์ หรือการถ่ายทอดสารพันธุกรรมของตนเองจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง อย่างไรก็ตามไวรัสไม่ใช่จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ไวรัสชนิดแรกที่ค้นพบคือไวรัสใบยาสูบด่าง เชื้อไวรัสมีทั้งที่เป็นประโยชน์ใช้ป้องกันศัตรูพืชและเป็นเชื้อก่อให้เกิดโรคกับพืช |
|
|
|
|
|
การใช้เชื้อจุลินทรีย์ ที่ไร่พอใจ เกษตรอินทรีย์ |
|
ที่ไร่พอใจ เกษตรอินทรีย์...มีการใช้เชื้อจุลินทรีย์อย่างหลากหลาย ซึ่งนำมาใช้ทั้งในการหมักปุ๋ย ทำน้ำหมักชีวภาพ และป้องกันโรคแมลงศัตรูพืช เนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์ที่ดี ต้องมีเป็นจำนวนมาก หลากหลายสายพันธุ์และต้องแข็งแรง เป็นสิ่งสำคัญมาก ที่ไร่พอใจจึงได้คัดเลือกใช้จุลินทรีย์จากหลายแหล่งมารวมกัน เช่น จุลินทรีย์ EM, จุลินทรีย์จากจาวปลวก, จุลินทรีย์สรรพสิ่งของโครงการ 1 ไร่ 1 แสน, จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง และจุลินทรีย์ท้องถิ่น โดยนำเอาจุลินทรีย์มาเลี้ยงผสมรวมกัน ให้อาหารและเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ให้มีปริมาณมาก แล้วจึงนำหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ได้ไปใช้งานอีกทีหนึ่ง วิธีการนำไปใช้งานก็มีทั้งในรูปของปุ๋ยหมักอินทรีย์โดยการหว่านลงในแปลงและน้ำหมักชีวิภาพโดยการฉีดพ่น นอกจากนี้ที่ไร่พอใจยังใช้แหนแดงหว่านลงในแปลงนาเพื่อให้สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ช่วยตรึงธาตุไนโตเจนให้กับต้นข้าว และยังได้แหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดอีกด้วย |
|
|
|
รวมรูปภาพของแตนลาม ที่ไร่พอใจ เกษตรอินทรีย์ |
|
|
|
|
|
|
|
ความสำคัญของเกษตรอินทรีย์ |
|
|
แนวความคิด ของการทำเกษตรอินทรีย์ แบบยั่งยืน |
|
แล้วคำว่า "เกษตรอินทรีย์" มันคือการเกษตรอะไรกันแน่.... |
|
ความสำคัญเกี่ยวกับ การทำเกษตรที่เป็นเกษตรอินทรีย์ 100 เปอร์เซนต์ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|