ภัยธรรมชาติจากฤดูกาล ภัยร้าย
สำหรับเกษตรกร |
 |
เรื่องและเรียบเรียงโดย ตุ๊แสนฤทธิ์ |
 |
|
|
|
ฝน 2 ฤดูกาลของ 2 ปีที่ผ่านมา นับว่าเป็นมหันตภัยทางธรรมชาติ สำหรับการเกษตรกรรมอย่างแท้จริง ฤดูฝนที่ไม่ค่อยจะตกตามกำหนดเวลาที่มาถึง ใช่ว่าเฉพาะพืชพันธุ์ต่างๆ เท่านั้น ที่จะต้องปรับเปลี่ยน ชาวเกษตรกรเองก็มิอาจหลีกเลี่ยงได้ จำต้องปรับตัวพึ่งพิงเข้าหาซึ่งกันและกันเพื่อความอยู่รอด |
|
|
|
|
วัชพืชหญ้า พืชที่มีพันธุกรรมที่ปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว |
พืชตระกูลหญ้า นับว่าเป็นพืชพันธุ์ที่ได้เปรียบ เพราะมีพันธุกรรมที่สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว แย่งอาหารได้เก่ง ไม่ว่าสภาพภูมิอากาศจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร มันก็สามารถปรับตัวต่อสู้ผ่าฟันได้ ออกลูกออกหลานแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว แถมมันยังไม่เกี่ยงงอนกับธาตุอาหารในดินจะมีมากน้อยเพียงพอหรือไม่ ง่ายๆ คือวิธีดำรงชีวิตของมัน ในหนึ่งฤดูกาลมันจึงสามารถสร้างเมล็ดพันธุ์ได้เสมอ โดยไม่ต้องพึ่งพาการดูแลเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์จากมนุษย์เราเลย วัชพืชจึงเป็นพืชพันธุ์ที่มีประโยชน์มากหากชาวเกษตรกรจะไม่มองข้ามมันไป
|
|
|
|
|
|
ความแห้งแล้งเกินฤดูกาล ฝนที่ไม่ตกมาตามความต้องการของเกษตรกร |
สองฤดูฝน สองฤดูแล้งที่ผ่านมา(2558-2559) เป็นสัญญาณเตือนภัยจากธรรมชาติบางอย่าง ฤดูร้อนที่แสงอาทิตย์แผดเผาพืชผลทุกอย่าง มะม่วง กล้วย มะละกอ มะพร้าว ที่มักจะยืนต้นผ่านฤดูกาลแล้งได้ แต่กลับยืนต้นแห้งตาย พอย่างเข้าสู่ฤดูฝน กลับพบกับความแห้งแล้ง เหมือนฤดูกาลจะถูกเลื่อนออกไป ความแห้งแล้งย่างกรายเข้าสู่ฤดูฝน เม็ดฝนที่ตกลงมาก็ไม่เพียงพอที่จะไถ่พรวน หว่านเพาะปลูกพืช วัชพืชกลับได้รับผลดีกับสภาวะอากาศเช่นนี้ พากันปรับตัวเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แพร่ลูกแพร่หลาน กระจายเป็นทุ่งกว้างในแปลงเกษตร แลดูงอกงามกว่าพืชประธานเจ้าของแปลงเสียอีก
|
|
|
|
|
|
น้ำจากฝนที่หลั่งจากฟ้า ท่วมท้นผิดธรรมชาติ |
|
พอย่างเข้าสู่ฤดูฝน ลมหนาวเริ่มโบกพัดมา แต่เมฆฝนกลับยังดูมืดคลึ้มเต็มท้องฟ้า ธรรมชาติให้เวลาไม่มากเพียง 1-2 เดือน ที่จะให้ความชุ่มฉ่ำในช่วงเวลาของปลายฝนต้นหนาว บางครั้งเหมือนน้ำจะท่วมฟ้า เอ่อล่นสาดสายลงมาแบบไม่ขาดสาย ชนิดลืมหูลืมตาไม่ขึ้น เพียงค่ำคืนเดียว ท้องทุ่งนา คลองน้ำ หนอง บึง ก็เต็มไปด้วยน้ำ |
|
|
|
|
|
พืชไร่ที่พึ่งจะลงมือเพาะปลูกได้ของช่วงปลายฤดูฝน หลังจากแห้งแล้งมาหลายเดือน ก็จมอยู่ใต้น้ำชั่วข้ามคืน ข้าวที่เหลืองอร่ามใกล้จะเก็บเกี่ยวของชาวนาที่เสียงหว่านแห้งไว้ตอนต้นฤดู จมอยู่กับน้ำและต้องรอคอยต่อไป ธรรมชาติที่พลิกผันอย่างพิศดาร ได้สร้างร่องรอยการดิ้นรน ให้กับการเจริญเติบโตของพืชพันธุ์ เพื่อมันจะได้ปรับตัวในฤดูกาลต่อไป วิถีเกษตรกรรมของเราก็เช่นกัน จำต้องปรับเปลี่ยน ดูเหมือนการทำอาชีพเกษตรกรรม คงต้องคิดให้หนักมากขึ้นซะแล้ว |
|
|
 |
|
|
สัญญาณธรรมชาติ สัญญาณเตือนภัยสำหรับมนุษยชาติ |
|
กลางเดือนกุมภาพันธุ์(2560) ถึงแม้จะเป็นช่วงปลายฤดูหนาว กลางคืนเหมือนอุณหภูมิจะหนาวเย็นอยู่ เช้าๆ ถึงจะมีหมอกขาวสลัวๆ ล่องลอยอยู่เต็มท้องทุ่ง เมื่อมันกลั่นตัวเป็นหยดน้ำค้างอยู่บนยอดไม้ ใบหญ้า พอให้ความชุ่มชื่นอยู่ทั่วไป แต่พอคล้อยสายถึงบ่ายเย็น ความร้อนแรงของแสงแดดจากดวงอาทิตย์ ก็แผดเผาทุกอย่างแบบไร้ความปราณี พื้นแผ่นดินร้อนละอุ |
|
|
|
|
|
ในช่วงอุณหภูมิกลางคืนกลางวันที่ต่างกันเช่นนี้ แม้แต่วัชพืชหญ้าก็สุดที่จะทนทาน มันเป็นสัญญาณอีกครั้งจากธรรมชาติ ที่ส่งเตือนให้มนุษย์รับรู้ถึงผลการกระทำ ที่พากันย่ำยีทำลายสภาพแวดล้อม ป่าไม้ ความอุดมสมบูรณ์ ความสมดุลย์ของธรรมชาติไปจนหมดสิ้น หากพวกเรายังไม่ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ไม่นานมันคงจะเลวร้ายกว่านี้ไปอีก |
|
|
|
|
|
2 ปีที่ผ่านมาภายใต้ภัยธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลง ที่ไร่พอใจของเราก็สุดที่จะหลีกเลี่ยงได้ ไม้ผล พืชพันธุ์ต่างๆ ที่อุตสาห์มานะปลูกไว้ ก็ยืนต้นล้มตายจากไปมากมาย กล้วย มะพร้าว มะม่วง ไม้ยืนต้นอื่นๆ แทบจะไม่เหลือ ปีนี้เหมือนเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ คงต้องสู้และปรับตัวกันไปทั้งพืชทั้งคน ยังไม่ย่อท้อ นี่แหละคือชีวิตที่ดำรงอยู่กับธรรมชาติ.... |
|
|
รวมรูป ภัยธรรมชาติจากฤดูกาล ภัยร้ายสำหรับเกษตรกร |
|
|
 |
|
|
|
|
|
 |
ความสำคัญของเกษตรอินทรีย์ |
|
 |
แนวความคิด ของการทำเกษตรอินทรีย์ แบบยั่งยืน |
 |
แล้วคำว่า "เกษตรอินทรีย์" มันคือการเกษตรอะไรกันแน่.... |
 |
ความสำคัญเกี่ยวกับ การทำเกษตรที่เป็นเกษตรอินทรีย์ 100 เปอร์เซนต์ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|