เกษตรทฤษฏีใหม่
ตามรอยพระราชดำริของในหลวงของเรา |
 |
เรื่องและเรียบเรียงโดย ตุ๊แสนฤทธิ์ |
 |
|
|
|
เกษตรทฤษฏีใหม่เป็นแนวคิดในการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกิดจากพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถในการที่ได้ทรงคิด ทรงปรับปรุงเปลี่ยนแปลง และแก้ไขในการพัฒนาโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยทรงเริ่มศึกษาและวิจัยเชิงปฏิบัติตั้งแต่ปี พ.ศ.2532 ในพื้นที่ส่วนพระองค์ขนาด 16 ไร่ 2 งาน 23 ตารางวา ที่ ต.ห้อยบง อ.เมือง จ.สระบุรี โดยทรงเริ่มนำเอกสารออกมาเผยแพร่ในปี 2537 และทรงสร้างเป็นตัวอย่างต่างๆ มากมายในโครงการหลวง จากพระราชดำริที่ตั้งกระจายอยู่ทั่วประเทศ |
|
|
|
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีแนวพระราชดำริที่จะพัฒนาประสิทธิภาพทางการเกษตรที่สำคัญ เพื่อให้สอดคล้องต่อการดำเนินชีวิตของเกษตรกรให้เกิดความยั่งยืน นั่นคือการเกษตรทฤษฎีใหม่ ที่ทรงเน้นในเรื่องของการค้นคว้า ทดลอง และวิจัยหาพันธุ์พืชต่างๆ ใหม่ๆ ทั้งพืชเศรษฐกิจ เช่น หม่อนไหม ยางพาราฯลฯ อีกทั้งพืชเพื่อการปรับปรุงบำรุงดินและพืชสมุนไพร ตลอดจนการศึกษาเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืช ทั้งนี้รวมทั้งพันธุ์สัตว์ต่างๆ ที่เหมาะสมเช่น โค กระบือ แพะ แกะ พันธุ์ปลา และสัตว์ปีกทั้งหลายด้วย เพื่อแนะนำให้เกษตรกรนำไปปฏิบัติได้ราคาถูกและใช้เทคโนโลยีที่ง่ายและไม่สลับซับซ้อน ซึ่งเกษตรกรจะสามารถรับไปดำเนินการเองได้ และที่สำคัญคือ พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ หรือเทคนิควิธีการดูแลต่างๆ นั้นต้องเหมาะสมกับสภาพสังคมและสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นนั้นๆ ด้วย |
|
|
|
|
อย่างไรก็ตาม มีพระราชประสงค์เป็นประการแรก คือ การทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ โดยเฉพาะในด้านอาหารก่อนเป็นอันดับแรก เช่น ข้าว พืชผัก ผลไม้ ฯลฯ แนวทางที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การที่ทรงพยายามไม่ให้เกษตรกรพึ่งพาอยู่กับพืชเกษตรแต่เพียงอย่างเดียว เพราะจะเกิดความเสียหายง่าย เนื่องจากความแปรปรวนของตลาดและความไม่แน่นอนของธรรมชาติ ทางออกก็คือเกษตรกรควรจะต้องมีรายได้เพิ่มขึ้นนอกเหนือไปจากภาคเกษตร เช่น การส่งเสริมอุตสาหกรรมในครัวเรือนของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งดำเนินงานสนับสนุนงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปัจจุบันสภาพของทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ ที่ดิน แหล่งน้ำ ให้อยู่ในสภาพที่จะมีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอย่างมากที่สุด |
|
|
|
|
3 ขั้นตอนหลักยึดใน เกษตรทฤฏีใหม่ของในหลวง |
|
พระราชดำริ "ทฤษฎีใหม่" เป็นแนวทางหรือหลักการในการจัดการทรัพยากรระดับไร่นาคือที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการดำเนินการทฤษฎีใหม่ ได้พระราชทานขั้นตอนดำเนินงาน ดังนี้ |
|
ขั้นตอนแรก ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น |
|
สถานะพื้นฐานของเกษตรกร คือ มีพื้นที่น้อย ค่อนข้างยากจน อยู่ในเขตเกษตรน้ำฝนเป็นหลัก โดยในขั้นที่ ๑ นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสถียรภาพของการผลิต เสถียรภาพด้านอาหารประจำวัน ความมั่นคงของรายได้ ความมั่นคงของชีวิต และความมั่นคงของชุมชนชนบท เป็นเศรษฐกิจพึ่งตนเองมากขึ้น มีการจัดสรรพื้นที่ทำกินและที่อยู่อาศัย ให้แบ่งพื้นที่ ออกเป็น ๔ ส่วน ตามอัตราส่วน ๓๐:๓๐:๓๐:๑๐ ซึ่งหมายถึง พื้นที่ส่วนที่หนึ่งประมาณ ๓๐% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำ เพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝนและ ใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำต่าง ๆ (สามารถเลี้ยงปลา ปลูกพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักกะเฉด ฯ ได้ด้วย) พื้นที่ส่วนที่สองประมาณ ๓๐% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันในครัวเรือนให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้ พื้นที่ส่วนที่สามประมาณ ๓๐% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย และพื้นที่ส่วนที่สี่ประมาณ ๑๐% ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ และโรงเรือนอื่น ๆ (ถนน คันดิน กองฟาง ลานตาก กองปุ๋ยหมัก โรงเรือน โรงเพาะเห็ด คอกสัตว์ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักสวนครัวหลังบ้าน เป็นต้น) |
|
|
|
|
ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ลงมือปฏิบัติตามขั้นที่หนึ่งในที่ดินของตนเป็นระยะเวลาพอสมควรจนได้ผลแล้ว เกษตรกรก็จะพัฒนาตนเองจากขั้น "พออยู่พอกิน" ไปสู่ขั้น "พอมีอันจะกิน" เพื่อให้มีผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงควรที่จะต้องดำเนินการตามขั้นที่สองและขั้นที่สามต่อไปตามลำดับ |
|
ขั้นตอนที่สอง ทฤษฎีใหม่ขั้นกลาง |
|
เมื่อเกษตรกรเข้าใจในหลักการและได้ปฏิบัติในที่ดินของตนจนได้ผลแล้ว ก็ต้องเริ่มขั้นที่สอง คือ ให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่ม หรือ สหกรณ์ ร่วมแรง ร่วมใจกันดำเนินการในด้าน |
|
|
1. |
การผลิต เกษตรกรจะต้องร่วมมือในการผลิตโดยเริ่มตั้งแต่ ขั้นเตรียมดิน การหาพันธุ์พืช ปุ๋ย การหาน้ำ และอื่น ๆ |
|
|
เพื่อการเพาะปลูก |
|
|
|
|
2. |
การตลาด เมื่อมีผลผลิตแล้ว จะต้องเตรียมการต่าง ๆ เพื่อการขายผลผลิตให้ได้ประโยชน์สูงสุด เช่น การเตรียมลานตากข้าวร่วม |
|
|
กันการจัดหายุ้งรวบรวมข้าว เตรียมหาเครื่องสีข้าว ตลอดจนการรวมกันขายผลผลิตให้ได้ราคาดี และลดค่าใช้จ่ายลงด้วย |
|
|
|
|
3. |
ความเป็นอยู่ ในขณะเดียวกันเกษตรกรต้องมีความเป็นอยู่ที่ดีพอสมควร โดยมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น |
|
|
อาหารการกินต่าง ๆ กะปิ น้ำปลา เสื้อผ้า ที่พอเพียง |
|
|
|
|
4. |
สวัสดิการ แต่ละชุมชนควรมีสวัสดิการและบริการที่จำเป็น เช่น มีสถานีอนามัยเมื่อยามป่วยไข้ หรือมีกองทุนไว้ให้กู้ยืม |
|
|
เพื่อประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ |
|
|
|
|
5. |
การศึกษา มีโรงเรียนและชุมชนมีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา เช่น มีกองทุนเพื่อการศึกษาเล่าเรียนให้แก่เยาวชน |
|
|
ของชุมชนเอง |
|
|
|
|
6. |
สังคมและศาสนา ชุมชนควรเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาสังคมและจิตใจ โดยมีศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยว |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ขั้นตอนที่สอง ทฤษฎีใหม่ขั้นก้าวหน้า |
|
เมื่อดำเนินการผ่านพ้นขั้นที่สองแล้ว เกษตรกรจะมีรายได้ดีขึ้น ฐานะมั่นคงขึ้น เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรก็ควรพัฒนาก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สามต่อไป คือ ติดต่อประสานงาน เพื่อจัดหาทุน หรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัทห้างร้านเอกชน มาช่วยในการทำธุระกิจ การลงทุนและพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งนี้ ทั้งฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคารกับบริษัท จะได้รับประโยชน์ร่วมกัน กล่าวคือ |
|
|
- เกษตรกรขายข้าวได้ในราคาสูง (ไม่ถูกกดราคา) |
|
|
|
- ธนาคารกับบริษัทสามารถซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ (ซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและมาสีเอง) |
|
|
|
- เกษตรกรซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคได้ในราคาต่ำ เพราะรวมกันซื้อเป็นจำนวนมาก (เป็นร้านสหกรณ์ ซื้อในราคาขายส่ง) |
|
|
|
- ธนาคารกับบริษัทจะสามารถกระจายบุคลากร (เพื่อไปดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ ให้เกิดผลดียิ่งขึ้น) |
|
|
ในปัจจุบันนี้ได้มีการนำเอาเกษตรทฤษฎีใหม่ไปทำการทดลองขยายผล ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รวมทั้งกรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการจัดทำแปลงสาธิต จำนวน ๒๕ แห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ นอกจากนี้ กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพภาค กระทรวงกลาโหม และกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการดำเนินงานให้มีการนำเอาทฤษฎีใหม่นี้ไปใช้อย่างกว้างขวางขึ้น |
|
|
|
|
|
เกษตรทฤษฎีใหม่จึงเป็นแนวพระราชดำริ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานมาเพื่อแก้ปัญหาจากปัจจัยต่างๆ ในภาคการเกษตร และได้รับการพิสูจน์และยอมรับกันอย่างกว้างขวางในหมู่เกษตรกรไทยแล้วว่า พระราชดำริของพระองค์สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างแท้จริง และทำให้เกิดความสมบูรณ์พูนสุขขึ้น |
|
ปัจจุบันมีโครงการหลวงมากมายหลายตัวอย่างที่เป็นต้นแบบให้เกษตรกร ได้เข้าไปศึกษา เรียนรู้ เพี่อนำมาเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งก็มีผู้นำแนวทางตามแบบเกษตรทฤษฏีใหม่ไปพัฒนาต่อยอดมากมายและประสพผลสำเร็จจนเป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ เช่น 2 ไร่แก้จน, เกษตรปราณีต 1 ไร่, 1 ไร่ได้เงิน 1 แสนบาท ฯลฯ |
|
|
|
|
|
เกษตรทฤษฎีใหม่ ที่ไร่พอใจ เกษตรอินทรีย์ |
|
ที่ไร่พอใจ เกษตรอินทรีย์ ก็ได้เดินตามรอยพระราชดำริตามแบบ เกษตรทฤษฏีใหม่ เน้นการเกษตรอินทรีย์ ปลูกพืชผัก พืชไร่แบบผสมผสาน โดยพึ่งพาตัวเองให้มากที่สุด ค่อยๆ สร้าง ค่อยๆ ทำ ไม่ได้ไช้เงินลงทุนมากมายมาหาศาล ทำทุกอย่างแบบพึ่งพาตนเอง ถึงวันนี้จะยังมีทุกอย่างไม่พร้อม แต่ก็มีความสุขใจที่ได้ทำ และจะพยายามทำต่อไปเพื่อเป็นหนทางหนึ่ง จุดเล็กๆ จุดหนึ่ง ของสังคม ที่พวกเราจะมาช่วยกันสร้างสรรค์ให้น่าอยู่ร่วมกันได้ นับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่ประสกนิกรชาวไทยอย่างยิ่ง ที่เรามีในหลวงที่ทรงห่วงใยความทุกข์สุขของประชาชนในประเทศ และยังทรงมีพระปรีชาสามารถมองเห็นปัญหา พร้อมแนวทางในการแก้ไข ทั้งยังทรงทำเป็นตัวอย่างให้เห็นอยู่ทั่วไปในประเทศของเราด้วย |
|
|
รวมรูปภาพสำหรับ เกษตรทฤษฎีใหม่ |
|
 |
|
|
|
|
 |
ความสำคัญของเกษตรอินทรีย์ |
|
 |
แนวความคิด ของการทำเกษตรอินทรีย์ แบบยั่งยืน |
 |
แล้วคำว่า "เกษตรอินทรีย์" มันคือการเกษตรอะไรกันแน่.... |
 |
ความสำคัญเกี่ยวกับ การทำเกษตรที่เป็นเกษตรอินทรีย์ 100 เปอร์เซนต์ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|