ฉำฉาหรือจามจุรี ไม้ใหญ่โตเร็ว
ใช้ประโยชน์ได้มากมาย |
|
เรื่องและเรียบเรียงโดย ตุ๊แสนฤทธิ์ |
|
|
|
|
ไม้จามจุรีมีชื่อเรียกกันหลากหลายชื่อ บ้างเรียกต้นฉำฉา บ้างเรียกต้นก้ามปู เป็นไม้ต้นใหญ่ เติบโตได้เร็ว บางต้นมีขนาดถึง 10 คนโอบ เป็นไม้ที่มีประโยชน์ทุกส่วน ตั้งแต่รากจนถึงใบ คนปลูกต้นไม้มักจะรู้จักดี เพราะในใบจะมีธาตุในโตเจนสูง จึงนิยมนำใบไปผสมกับดินปลูกต้นไม้ขายเป็นการค้า ที่เรียกว่า ดินผสมใบก้ามปูนั่นเอง |
|
|
|
ต้นจามจุรีหรือต้นฉำฉา เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ มีกิ่งก้านสาขามาก โตเร็ว เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์เดียวกับพืชตระกูลถั่ว เป็นพืชที่ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับแบคทีเรียที่ตรึงธาตุไนโตรเจนได้ ฉะนั้นใบจามจุรีหรือใบก้ามปู จึงมีธาตุไนโตรเจนมากถึง 2 เปอร์เซ็นต์ และสูงกว่าใบไม้ชนิดอื่นๆ ที่ไม่ใช่พืชตระกูลถั่ว จากคุณค่าของใบจามจุรีที่ช่วยเพิ่มธาตุอาหารที่มีประโยชน์ให้แก่ดินปลูกต้นไม้ จึงทำให้วงการปลูกต้นไม้หันมาสนใจใบจามจุรีหรือใบก้ามปูแห้งเพื่อนำไปผสมกับดินเป็นวัสดุสำหรับเพาะปลูก
|
|
|
|
|
|
ลักษณะทั่วไป ของต้นจามจุรี |
จามจุรีเป็นพืชตระกูลถั่ว (Family Leguminosae) อนุวงศ์สะตอ (Sub-Family Mimosaceae) มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Samanea saman Jacq Merr. ส่วนชื่อที่เป็นที่รู้จักในประเทศไทยได้แก่ จามจุรี ก้ามกลาม จามจุรีแดง ก้ามปู ก้ามกุ้ง (ไทย) ฉำฉา สารสา สำลา ตุ๊ดตู่ ลัง (พายัพ) ในภาษาอังกฤษชื่อที่เรียกกันแพร่หลาย คือ Rain tree ซึ่งน่าจะมาจากนิสัยของต้นไม้ชนิดนี้โตเร็วผิดกับต้นไม้อื่นๆ คือ เมื่อฤดูฝนผ่านไปครั้งหนึ่งต้นไม้ชนิดนี้จะโตเร็วผิดกับต้นไม้อื่นๆ อย่างสังเกตเห็นได้ชัด
|
|
|
|
|
|
จามจุรีเป็นไม้ผลัดใบโตเร็ว มีกิ่งก้านสาขาแผ่กว้างคล้ายรูปร่ม เรือนยอดสูงประมาณ 40 ฟุต สูง 20 30 เมตร เปลือกสีดำ แตกและร่อน ลักษณะเนื้อไม้มีลวดลายสวยงาม แก่นสีดำคล้ำคล้ายไม้มะม่วงป่าหรือวอลนัท เมื่อนำมาตกแต่งทำเฟอร์นิเจอร์ จะขึ้นเงาเป็นมันแวววาว นับเป็นพรรณไม้ที่มีลักษณะสวยงามตามธรรมชาติ ลักษณะของเนื้อไม้มีความแข็งแรงเท่าเทียมไม้สมพง แต่มีลักษณะพิเศษคือ สามารถดัดงอได้สูงมาก เนื้อไม้มีความชื้นสูง และมีสารพวกแอลคาลอยด์ (alkaloid) ชื่อพิธทิโคโลไบ (piththecolobine) ที่มีพิษใช้เป็นยาสลบ
|
|
|
|
|
|
ใบจามจุรี เป็นใบผสมแบบขนนกสองชั้น ทั้งใบยาวประมาณ 25 40 เซนติเมตร ใบประกอบด้วยช่อใบ 4 คู่ ใบย่อย 2 10 คู่ ต่อหนึ่งใบ ใบย่อยเกิดบนก้านใบซึ่งแยกจากก้านใหญ่ ใบย่อยรูปขนานเปียกปูนแต่เบี้ยว ใบย่อยด้านปลายใบใหญ่ที่สุดใบย่อยหนาปานกลาง ด้านหน้าใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านหลังใบสีเขียวนวล และมีขนเล็กน้อย
|
|
|
|
|
|
ดอกจามจุรีเป็นช่อดอกทรงกลม แต่ละช่อรวมกันเป็นช่อใหญ่ ออกเป็นช่อสั้นๆ ตามยอดปลายกิ่ง กลีบดอกเล็กมาก แต่ละช่อดอกมีดอกตัวเมียดอกเดียว และล้อมรอบด้วยดอกตัวผู้เป็นจำนวนมาก มีก้านช่อดอกสีเขียวอ่อนยาวประมาณ ๖-๘ เซนติเมตร ช่อหนึ่งๆ มีดอกตั้งแต่ ๒๕-๓๕ ดอก และมักบานพร้อมกัน |
|
|
|
|
|
ดอกจามจุรี มีสีชมพูรูปกรวยขนาดเล็กมี ๖ กลีบ แต่ละช่อดอกมีดอกตัวเมียดอกเดียว และล้อมรอบด้วยดอกตัวผู้เป็นจำนวนมาก จะมีเส้นเกสรตัวผู้ยาวเป็นพู่ฟูล้นดอกออกมา ลักษณะคล้ายแส้เล็กๆ เกสรตัวผู้ตอนบนสีชมพู ตอนล่างสีขาวยาวประมาณ ๔ เซนติเมตร ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกได้ทั้งในฤดูร้อนและฤดูฝน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พฤษภาคม |
|
|
|
|
|
ผลของต้นจามจุรีเป็นฝักรูปขอบขนานบิดโค้งเล็กน้อย กว้าง 1.5 - 2.5 เซนติเมตร ยาว 15 - 18 เซนติเมตร ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีน้ำตาล โป่งและคอดเป็นตอนๆ ตามตำแหน่งเมล็ด ภายในฝักมีเนื้อนุ่มเหนียว และเมล็ดจำนวนมาก เมื่อแก่เมล็ดมีสีดำเนื้อนิ่ม
เมล็ดรูปรีค่อนข้างแบนมี 15 - 25 เมล็ด |
|
|
|
|
|
สภาพแวดล้อม ที่เหมาะสำหรับการปลูกต้นจามจุรี |
|
จามจุรีสามารถเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนที่มีฝนตกชุกปานกลาง ถึงฝนตกหนักตลอดปีเป็นต้นไม้ที่ชอบน้ำ และความชุมชื้น เช่นในหมู่เกาะอินดิสตะวันตก ฟิลิปปินส์ พม่า มาเลเซีย และไทย จามจุรีสามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ด ซึ่งผลของจามจุรีนั้นจะแก่ในช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือนตุลาคม มกราคม ซึ่งมีการเก็บเมล็ดกันมากในช่วงนี้ในบริเวณที่พบจามจุรี โดยทั่วๆ ไป ต้อนอ่อนจามจุรีจะงอกได้ง่าย ใต้ต้นจามจุรีที่พบมีผลร่วงล่นอยู่ หากปล่อยทิ้องไว้ |
|
|
|
|
|
สรรพคุณทางด้านสมุนไพร ของต้นจามจุรี |
|
จามจุรี ไม้ยืนต้นที่สามารถนำมาทำเป็นพืชสมุนไพรได้ เปลือกของลำต้น ป่นให้ละเอียด ใช้เป็นยาสมานรักษาแผล เปลือกจากลำต้นและเมล็ด ใช้รักษาอาการท้องบิด ท้องเสีย ใบมีรสที่เย็น สรรพคุณเย็น ต้านพิษ แก้ปวดแสบปวดร้อน เมล็ดมีรสฝาดเมา แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน เรื้อน แก้เยื่อตาอักเสบ การใช้เป็นยาสมานรักษาแผล ให้นำเปลือกที่แห้งแล้ว มาบดหรือป่นให้ละเอียดจนเป็นผง จากนั้นนำมาโรยบริเวณที่เป็นแผล ใช้ทาเรื่อย ๆ จนกว่าแผลจะหาย ข้อควรระวัง เมื่อรับประทานเมล็ด หรือน้ำยางจากฝักเข้าไป จะทำให้เยื่อบุผนังกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ มีอาการอาเจียนและถ่ายอย่างรุนแรง |
|
|
|
|
|
การใช้ไม้เฟอร์นิเจอร์ จากจามจุรี |
|
ไม้จามจุรีเป็นไม้ที่มีลักษณะเนื้อไม้ที่มีลวดลายสวยงาม แก่นสีดำคล้ำคล้ายไม้มะม่วงป่าหรือไม้วอลนัท เมื่อนำมาตกแต่งจะขึ้นเงาเป็นมันแวววาว นับเป็นพรรณไม้ที่มีลักษณะสวยงามตามธรรมชาติ ในเนื้อไม้จะมีความชื้นอยู่สูง ก่อนนำไปใช้งานควรจะทำการอบเนื้อไม้ก่อน โดยค่อยๆ เพิ่มอุณหภูมิในการอบขึ้นจนกว่าจะหมดความชื้น เมื่อนำเนื้อไม้ไปใช้งานเนื้อไม้จะไม่แตก ไม้จามจุรีนอกจากจะนิยมนำไปใช้แกะสลักแล้ว ยังนำไปทำ โต๊ะ เก้าอี้ เตียง ตู้เสื้อผ้า ของเด็กเล่น และเฟอร์นิเจอร์อื่นๆ อีกมากมาย |
|
|
|
|
|
ไม้แกะสลัก ต้องไม้ฉำฉาหรือไม้จากต้นจามจุรี |
|
ในปัจจุบันนิยมนำเนื้อไม้จามจุรีมาใช้เป็นวัตถุดิบที่สำคัญในอุตสาหกรรมแกะสลักไม้ทางภาคเหนือ ซึ่งมีการดำเนินงานในรูปสหกรณ์หัตถกรรมไม้ อันเนื่องมาจากไม้สักมีราคาแพงและหายาก จึงทำให้ไม้จามจุรีจึงมีบทบาทในการทดแทนไม้สักได้มากขึ้น เพราะไม้จามจุรีมีราคาที่ถูกกว่า สามารถหาได้ง่ายกว่าไม้สักเพราะยังไม่เป็นไม้สงวน เนื้อไม้มีแก่นสีดำคล้ำสวยงาม เมื่อขัดตกแต่งจะขึ้นเงาแวววาว เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทุกระดับทั่วไป แต่ในเนื้อไม้จามจุรีจะมีความชื้นมาก ทำให้เกิดปัญหาไม้แตกในระหว่างการแกะสลักหรือหลังจากแกะสลักเป็นผลิตภัณฑ์แล้ว วิธีแก้ไขจะต้องทำการอบไม้ก่อนโดยค่อยๆ เพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้น จนกระทั่งไม่มีความชื้นหรือใกล้เคียงกับบรรยากาศทั่วไป มูลค่าของไม้แกะสลักที่จำหน่ายจะสูงกว่ามูลค่าไม้แปรรูปถึง 3 เท่า ในปี พ.ศ. 2521 มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลักสูงถึง 300 ล้านบาท
|
|
|
|
|
|
การเลี้ยงครั่ง บนต้นฉำฉาหรือต้นจามจุรี |
|
ทางภาคเหนือนิยมปลูกต้นจามจุรีเป็นแม่ไม้ที่ใช้เลี้ยงครั่ง เป็นไม้ที่เลี้ยงครั้งได้ผลดีมากชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะต้นจามจุรีชนิดที่มีดอกสีชมพู เปลือกสีเทาดำ ใบเขียวเข้ม ครั่งจะจับได้ดี ไม้ชนิดนี้สามารถเลี้ยงครั่งทั้งรอบฤดูร้อนและฤดูฝน แต่ผลผลิตครั่งที่ได้ปริมาณมาก คือครั่งที่ตัดเก็บในเดือน พฤศจิกายน ธันวาคม คุณภาพของครั่งไม้จามจุรีหรือไม้ก้ามปูนี้มีทั้งชั้นคุณภาพ A และ B ผลผลิตครั่งที่ตัดเก็บได้ประมาณ 5 10 กิโลกรัมต่อต้นเมื่ออายุ 6 ปี หากต้นจามจุรีมีอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปจะได้ผลผลิตครั่งประมาณ 10 50 กิโลกรัมต่อต้นหรือมากกว่านั้น (น้ำหนักครั่งดิบ) สำหรับมูลค่าการส่งออกครั่งในปี 2535 คือช่วงการส่งออกเดือนมิถุนายน 2534 ถึง เดือนพฤษภาคม 2535 สามารถส่งออกครั่งเม็ดได้ถึง 716 ต้น ซึ่งยังไม่ได้มีการคิดมูลค่าเป็นเงินออกมา
|
|
|
|
|
|
ปุ๋ยอินทรีย์ จากใบก้ามปูหรือใบจามจุรี |
|
ต้นจามจุรีเป็นไม้ประดับยืนต้น ที่สวยงามเนื่องจากเรือนยอดแผ่กว้างทั้งยังให้ร่มเงาที่ร่มเย็น เนื่องจากใบเป็นใบประกอบแบบผสมแบบขนนก ค่อนข้างใหญ่และอยู่ชิดกัน เมื่อพระอาทิตย์ตกดินใบจะหุบเข้าหากันครั้นรุ่งเช้าก็จะคลี่ขยายใบออก เพื่อเป็นการช่วยให้น้ำค้างที่ดินอยู่ตามกิ่งก้านหยดลงถึงพื้นดิน บรรดากล้วยไม้ที่เกาะติดอยู่ตามลำต้นและเฟิร์นที่อยู่ตามพื้นดินภายใต้ร่มเงาของจามจุรีจึงเจริญเติบโตได้ดี เนื่องจากเป็นพืชตระกูลถั่วจึงมีคุณสมบัติในการปรับปรุงคุณภาพของดินให้ดีขึ้น ใบใช้ทำปุ๋ยหมักได้ โดนเฉลี่ยมีไนโตรเจนถึงร้อยละ 3.25 มีการนำใบจามจุรีไปหมักผสมกับดิน เพื่อใช้เป็นดินปลูกต้นไม้ขายเป็นการค้ามากมาย ภายใต้ชื่อ ดินผสมใบก้ามปู หรือแม้แต่นำเฉพาะใบก้ามปูแห้งมาใส่ถุงขาย สามารถประกอบเป็นอาชีพได้เลยทีเดียว |
|
|
|
|
|
ปลูกจามจุรี ใช้เลี้ยงเป็นอาหารสัตว์ี |
|
จามจุรีสามารถปลูกเป็นอาหารสัตว์ได้ ใบและฝักมีคุณประโยชน์มากสำหรับ วัว ควาย ซึ่งมักจะชอบกินใบเขียวและใบอ่อน ฝักที่แก่มีเนื้อสีน้ำตาล ถ้าใช้เลี้ยงแม่วัวที่รีดนม จะทำให้น้ำนมมีคุณภาพดีขึ้น ฝักจะแก่ราวๆ เดือนมีนาคม สามารถเก็บรักษาไว้เลี้ยงวัว ควายได้ในกรณีหาหญ้าฟางได้ยาก หรือฟางข้าวมีราคาแพง สารอาหารในฝักจามจุรีมีคูณค่าดีเท่ากับหญ้าแห้งที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้เนื้อในของฝักแก่ที่มีสีน้ำตาล ยังสามารถใช้หมักเพื่อผลิตแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ โดยฝักจามจุรี100 กิโลกรัม จะได้แอลกอฮอล์ราวๆ 11.5 ลิตร นอกจากนี้ยังสามารถนำฝักจามจุรีไปต้มกับน้ำรับประทานแบบน้ำชาได้ มีรสหวาน ประแล่มๆ |
|
|
|
|
|
ที่ไร่พอใจ เกษตรอินทรีย์ โชคดีที่มีต้นจามจุรีขึ้นอยู่ทั่วไป คล้ายๆ ต้นสะเดา คือขึ้นเอง ไม่ต้องดูแลเอาใจใส่ ต้นจามจุรีต้นใหญ่สุดที่ขึ้นอยู่ที่ไร่ น่าจะอายุมากกว่า 50 ปี มีลำต้นสูงใหญ่ กิ่งก้านสาขาขยายพุ่มกว้างนับ 10 เมตร มีขนาดต้นถึง 4 คนโอบ ให้ร่มเงาเย็นสบาย ก็หมายมั่นไว้ว่าจะปลูกบ้านต้นไม้ไว้สักหลังไว้บนต้นใหญ่ต้นนี้ เพื่อใช้ที่ที่พักผ่อน ในแต่ละปีจะได้ปุ๋ยจากใบจามจุรีหรือใบก้ามปูหลายๆ ตัน เมื่อนำไปหมักกับมูลสัตว์และเชื้อจุลินทรีย์ ก็จะได้ปุ๋ยอินทรีย์ชั้นดีไว้ใช้ในไร่ |
|
|
รวมรูป จามจุรี ไม้ใหญ่โตไว |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ความสำคัญของเกษตรอินทรีย์ |
|
|
แนวความคิด ของการทำเกษตรอินทรีย์ แบบยั่งยืน |
|
แล้วคำว่า "เกษตรอินทรีย์" มันคือการเกษตรอะไรกันแน่.... |
|
ความสำคัญเกี่ยวกับ การทำเกษตรที่เป็นเกษตรอินทรีย์ 100 เปอร์เซนต์ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|