เมล็ดพันธุ์พื้นบ้าน
พันธุกรรมที่สูญหาย
ผลกระทบที่รุนแรงจากการปฏิวัติเขียว
|
|
เรื่องและเรียบเรียงโดย ตุ๊แสนฤทธิ์ |
|
|
|
|
เวลากว่า 50 ปีที่เริ่มมีการปฏิวัติเขียวในบ้านเรา เป็นผลให้เกษตรกรรมดังเดิมในบ้านเรา ถูกหลงลืมไปจนสิ้น จากเดิมเราทำการเกษตรแค่เพียงให้สามารถเลี้ยงตนเอง เหลือบ้างก็แบ่งขาย แต่ในยุคปฏิวัติเขียวยุคสมัยที่เน้นให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิต เพื่อมุ่งขายผลผลิตอย่างเดียว ตลอดจนได้มีการส่งเสริมให้มีการใช้ปุ๋ยเคมี และยาเคมีสำหรับปราบศัตรูพืช เพื่อเพิ่มผลผลิต โดยไม่สนใจสิ่งแวดล้อม สุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค และที่สำคัญคุณภาพของสารอาหารที่ได้จากผลผลิตมีน้อยมาก |
|
|
|
ปัญหาเรื่องการเกษตรในบ้านเรา ถูกสะสมไว้อย่างยาวนาน ส่วนหนึ่งอาจจะเนื่องมาจากองค์ความรู้ต่างๆ ในการทำการเกษตรยังมีไม่ครบ ตัวเกษตรกรเองก็มิได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ประกอบกับมีนายทุนที่เห็นแต่ได้ ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสุขภาพของผู้ผลิตและผู้บริโภค ทั้งตัวของนายทุนและตัวเกษตรกรเองมีความโลภเป็นตัวชักนำ เพื่อให้ได้เป้าหมายการผลิต ซึ่งก็คือผลตอบแทนให้ได้มากที่สุด จนหูตามืดบอด ระยะเวลาเพียงแค่ไม่ถึง 50 ปี ยังไม่ถึงชั่วอายุคนด้วยซ้ำ สภาพแวดล้อมในประเทศเราพังทลาย เสียหายยับเยิน อากาศ แหล่งน้ำ ปนเปื้อนไปด้วยสารพิษ สัตว์น้ำ พืช แมลง ฯลฯ สูญพันธุ์ไปเกือบหมด เกิดโรคพืช โรคสัตว์แปลกๆ ระบาดอย่างหนัก สุขภาพผู้ผลิตผู้บริโภคก็ทรุดโทรม ป่าใม้แทบจะสูญสิ้น เพราะเกิดการบุกรุกเพื่อเข้าไปทำการเกษตร เนื่องจากพื้นที่ใหม่ที่บุกรุกยังอุดมสมบูรณ์ ที่สำคัญเมล็ดพันธุ์พื้นบ้านสูญสิ้น อัตรธานหายไปอยู่ในมือของกลุ่มนายทุนหมด
|
|
|
|
|
ผู้ร้ายใช่หรือคือ ปุ๋ยเคมีและยาเคมีปราบศัตรูพืช |
|
มันเป็นความจริงหรือไม่ที่เราจะกล่าวโทษปุ๋ยเคมี ยาเคมีปราบศัตรูพืช ว่าเป็นสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้การเกษตรบ้านเรามาถึงทางตัน เนื่องจากพืชผักที่ผลิตปนเปื้อนไปด้วยสารพิษ สภาพแวดล้อมเสียหาย และทำให้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภตมีสุขภาพที่ทรุดโทรม หากคิดไตร่ตรองให้ลึกๆ ด้วยเหตุด้วยผล ต้องยอมรับว่า ปุ๋ยเคมี ยาเคมีปราบศัตรูพืช เป็นเพียงเครื่องมือที่ถูกนำไปใช้ สาเหตุหลักๆ น่าจะอยู่ที่ผู้ใช้และผู้ที่นำมาขายมากกว่า ที่ไม่ได้ศึกษาและบอกข้อมูลการใช้ให้ละเอียด แทบจะพูดได้ว่ามีการใช้กันเกินขนาดที่ระบุไว้เนื่องจากการดื้อยาเคมีของศัตรูพืช และเร่งให้พืชเจริญงอกงาม ในขณะที่ยาเคมียังไม่สิ้นฤทธิ์ก็รีบเก็บมาขายเพราะพืชผักกำลังสวยงามน่าทาน ซึ่งถ้าหากมีการใช้แต่พอดี แบบผสมผสานกับวิถีเกษตรแบบเดิมๆ โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อม พื้นดินการเกษตร ตลอดจนสุขภาพของผู้ผลิตและผู้บริโภค ความเสียหายคงจะไม่มีมากเหมือนปัจจุบันนี้ และพูดได้ว่าปุ๋ยเคมี ยาเคมีปราบศัตรูพืชไม่ใช้สาเหตุของการสูญพันธุ์ของเมล็ดพันธุ์พืชอย่างแน่นอน
|
|
|
|
|
|
อะไรคือสาเหตุของ การสูญพันธุ์ของเมล็ดพันธุ์พืชผักพื้นบ้าน |
|
คลืนแห่งกระแสการปฏิวัติเขียว ซึ่งขับเคลื่อนมากว่า 50 ปี มันยังมิได้หยุดกระเพื่อม มันเป็นคลื่นสึนามิที่ถาโถมเข้าใส่กำแพงเกษตรกรรมตามธรรมชาติแห่งอดีด ผลกระทบมันแพร่กระจายไปอย่างใหญ่หลวงนัก นโยบายเพิ่มผลผลิต เป็นนโยบายหัวหอกที่สำคัญ ที่นักวิชาการบ้านเราหยิบยกขึ้นมาพิจารณาเป็นอันดับแรกๆ โดยอ้างเรื่องการขาดแคลนอาหารที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อปรับปรุงพัฒนาพันธุกรรมพืชผัก ให้สามารถตอบสนองต่อปุ๋ยเคมี ยาเคมี เพื่อให้ทนต่อโรคแมลง ไปจนถึงขั้นมีการดัดแปลงพันธุกรรมพืช หรือที่เรียกกันว่า พืช GMOs เมื่อมีการพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมา ก็มีการส่งเสริมแนะนำให้เกษตรกรปลูกกันขนานใหญ่ โดยมิได้สนใจเรื่องสารอาหารคุณค่าทางอาหาร และความปลอดภัยต่อผู้ผลิต ผู้บริโภค ตลอดจนถึงสิ่งแวดล้อม เพราะมีความโลภของนายทุนเป็นเครื่องจักรขับเคลือนอยู่เบื้องหลังอีกทีหนึ่ง แม้แต่ตัวเกษตรกรเองก็ยังตกอยู่ใต้อิทธิพลของความโลภนี้ ละทิ้งเมล็ดพันธุ์ดั่งเดิมที่่ปู่ย่าตายาย สืบทอดต่อกันมาเสียหมดสิ้น จนแทบจะหาเมล็ดพันธุ์มาสืบเชื้อสายไม่ได้แล้ว บางพันธุ์ถึงกับสูญหายไปก็มี ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น เมล็ดพันธุ์พืชผักต่างๆ เมล็ดพันธุ์ข้าว เป็นต้น |
|
|
|
|
|
เมล็ดพันธุ์พืชผักพื้นบ้าน พันธุกรรมที่สูญหายไปอยู่ไหน |
|
คนที่มองการไกลมักได้เปรียบ นักธุรกิจนายทุนมีวิสัยทรรศ์ดีในเรื่องนี้เสมอ กำไรคือหัวใจสำคัญในการทำธุรกิจ เมื่อทำการคิดค้นสร้างเมล็ดพันธุ์พืชผัก โดยปรับปรุงมาจากการผสมพันธุ์พืชผักพื้นบ้านเดิม เพื่อให้พืชผักเจริญเติบโตได้ดี รวดเร็ว ตอบสนองต่อปุ๋ยเคมี ยาเคมี ซึ่งกลุ่มนายทุนเองนั่นแหละเป็นคนขายเอง และส่วนใหญ่ก็จะเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน ที่ขายทั้งปุ๋ยเคมี ยาเคมีปราบศัครูพืช และเมล็ดพันธุ์พืชผัก ซึ่งกลุ่มบริษัทนายทุนเหล่านี้ ก็จะไล่กว้านเก็บเมล็ดพืชผักพื้นบ้านไว้เป็นของตัวเอง เพื่อที่จะนำมาผสมพันธุ์กลับมาขายให้กับเกษตรกรอีกครั้งหนึ่ง กว่าเกษตรกรจะรู้ตัว เมล็ดพันธุ์พืชผักพื้นบ้านของตัวเอง ก็ถูกเปลี่ยนมือ ถูกนำไปเก็บไว้ในธนาคารเมล็ดพันธุ์ของบริษัทนายทุนเสียสิ้น นี่คือความน่ากลัวของอนาคตเกษตรกรรมในยุดต่อไป หากเราไม่ทำการช่วยกันแก้ไข |
|
|
|
|
|
ต้องเป็นทาสนายทุน เมื่อสูญสิ้นเมล็ดพันธุ์พืชผักพื้นบ้าน |
|
เมื่อกลุ่มทุนประสบช่อง หนทางแห่งความร่ำรวยที่ยั่งยืน เขามิได้ทิ้งโอกาส ทุกเมล็ดพันธุ์พืชผักลูกผสมที่เขาผลิตคิดค้นได้ ถูกนำไปจดสิทธิบัตร เพื่อป้องกันทรัพย์สินของเขา ไม่มีใครที่จะสามารถนำเมล็ดพันธุ์ของเขาไปขายเป็นการค้าได้ บางเมล็ดพันธุ์พืชผัก ก็ถูกดัดแปลงให้สามารถปลูกได้เพียงครั้งเดียว ไม่สามารถเก็บเป็นเมล็ดพันธุ์เพื่อนำไปปลูกในฤดูถัดไปได้ แถมราคาเมล็ดพันธุ์ที่ขาย ก็มีราคาแพงมาก ผลกรรมเลยต้องตกไปอยู่ที่ตัวเกษตรกร ผู้ละทิ้งมรดกเมล็ดพันธุ์พืชผักพื้นบ้านของตัวเอง |
|
|
|
|
|
เก็บเมล็ดพันธุ์ ช่วยกันอนุรักษ์พันธุ์พืชผักพื้นบ้าน |
|
ยังนับว่าเป็นโชคดีของเกษตรกรรมบ้านเรา ที่ยังมีองค์กรและเกษตรกรหลายที่หลายท่าน ได้ตะหนักถึง ภัยคุกคามอันเกิดจากกระแสการปฏิวัติเขียวที่ผ่านมา การเก็บและรักษาเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้งานเองนับว่า เป็นหัวใจสำคัญในการทำเกษตรกรรม ทำให้ตัวเกษตรกรเองประหยัดเงิน ปลดความเป็นทาสจากนายทุน ที่ต้องไปซื้อหาเมล็ดพันธุ์มาเพาะปลูกเรื่อยไป การเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง ยังเป็นการช่วยให้พืชผักสามารถปรับปรุงสายพันธุ์ให้เข้ากับสภาพอากาศ และพื้นดินเกษตรในบริเวณนั้น ทำให้พันธุ์พืชผักช่วงลูกหลานมีความแข็งแรง ซึ่งเป็นการปรับพันธุกรรมตามธรรมชาติของพืช สำหรับตัวอย่างเกษครกรที่ให้ความสนใจกับการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืชผักที่น่ายกย่องได้แก่ อาจารย์เดชา ศิริภัทร จากมูลนิธิข้าวขวัญ ซึ่งได้เก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวและทำการพัฒนาพันธุ์ข้าวอินทรีย์ขึ้นอีกหลายพันธุ์, คุณโจน จันได จากพันพรรณ ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเอง และศูนย์เมล็ดพันธุ์ ผู้ที่มีคติประจำใจ ชิวิตจะต้องง่าย ถ้ามันยากแสดงว่ามันผิด ซึ่งได้เก็บรวบรวมเมล็ดพันธุ์พืชผักพื้นบ้านไว้มากมาย, แก่นคําหล้า พิลาน้อย หรือตุ๊หล่าง เกษตรกรชาวนาอำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ชาวนาที่พัฒนาพันธุ์ข้าวอินทรีย์ขึ้น เพื่อเป็นเมล็ดพันธุ์ของตัวเอง, วิลัย สุนตา เกษตรกรผู้ปลูกผัก อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน เกษตรกรที่เก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืชผักพื้นเมือง นอกจากนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ยังได้ทรงดำริ ให้ก่อตั้ง ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ ที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เพื่อทำการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชผักอินทรีย์เพื่อแจกจ่ายให้เกษตรกร และยังทรงรับสั่งให้ก่อตั้ง ธนาคารพืชพรรณ ตั้งอยู่ที่สวนจิตรลดา เพื่อเป็นธนาคารเก็บรักษาอนุรักษ์พืชพรรณทั่วประเทศ |
|
|
|
|
|
|
เกษตรอินทรีย์ กับพันธุ์พืชผักพื้นบ้าน |
|
การเก็บและรักษาเมล็ดพันธุ์พืชผักพื้นบ้าน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปลูกในระบบการเกษตรอินทรีย์เท่านั้น ถือว่าเป็นของคู่กัน เนื่องจากพืชผักพื้นบ้านโดยส่วนใหญ่มักจะตอบสนองต่อปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกได้ดีอยู่แล้ว เพียงแต่บางครั้งอาจจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพดินฟ้าอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องคัดเลือกพันธุ์ใหม่ไว้เสมอๆ เพื่อให้พันธุกรรมของเมล็ดพันธุ์ที่ได้มีความแข็งแรง แต่ทั้งก็สามารถนำเมล็ดพันธุ์ไปปลูกใช้กับปู๋ยเคมีได้เช่นกัน แต่จะทำให้พืชผักขาดความแข็งแรงตามธรรมชาติ พันธุกรรมของเมล็ดพืชผักที่สืบต่อจะไม่แข็งแรงไปด้วย และที่สำคัญรสชาดไม่อร่อยเหมือนกับการปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ |
|
|
|
|
|
คุณค่าทางอาหาร ของพืชผักพื้นบ้าน |
|
เนื่องจากพืชผักพื้นบ้าน เป็นพืชผักที่ปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ตามธรรมชาติมาแต่เดิม ไม่ต้องการ การดูแลเอาใจใส่ที่มาก ปุ๋ยที่ต้องการก็เป็นเพียง ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอก ซึ่งมีธาตุอาหารที่หลากหลายครบถ้วน ไม่เหมือนกับการปลูกพืชผักในยุคสมัยใหม่ ที่ใช้แต่เพียงปุ๋ยเคมี ซึ่งมีธาตุอาหารสำหรับพืช เพียง 3 ตัว คือ ไนโตเจน ฟอสฟอรัส และโปตัสเซียม รสชาติที่ได้ของผลผลิตจึงไม่อร่อยเหมือนเดิม หากเป็นข้าว ก็จะได้เฉพาะแป้งเป็นส่วนใหญ่ มีสารอาหารหลายๆ อย่างในพืชผักที่สูญหายไป จนกลายเป็นว่ากินเพื่อให้อิ่มท้องเท่านั้นเอง คุณค่าทางอาหาร เพื่อบำรุงสุขภาพให้แข็งแรง ต้านทานโรคภัยสูญหายไปหมด ซึ่งโดยปกติพืชผักพื้นบ้านมักขึ้นได้เองตามธรรมชาติ ไม่ต้องดูแลเอาใจใส่อะไรให้มาก แต่ผลผลิตที่ได้มีคุณสมบัติเป็นยาสมุนไพร มากกว่าคำว่าอาหารมากมายหลายเท่า |
|
|
|
|
|
ที่ไร่พอใจ เกษตรอินทรีย์ เราให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อเมล็ดพันธุ์พืชผัก ที่นำมาปลูก ต้องเป็นเมล็ดพันธุ์พืชผักที่ปลูกในระบบอินทรีย์ตามธรรมชาติเท่านั้น และยังได้เก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืชผักที่ปลูกไว้ใช้เอง ไม่จำเป็นต้องไปหาซื้อใหม่ อยากกินผักอะไรก็ค้นๆ หาเมล็ดพันธุ์ในตู้เย็น เอาออกมาปลูกได้ทันที เนื่องจากเจ้าของไร่เอง เป็นคนขี้เกียจ ชอบท่องเที่ยวเป็นชีวิตจิตใจ และมีงานที่ต้องดูแลหลายๆ อย่าง จึงต้องการประหยัดเวลาไว้ การปลูกพืชผักพื้นบ้าน จึงเหมาะกับจริตนิสัย ไม่จำเป็นต้องคอยเอาใจใส่ให้มากเหมือนพืชผักในระบบสารเคมี เพียงแต่คอยรดน้ำและให้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกเป็นช่วงๆ ก็จะได้ผลผลิตพืชผักที่เป็นทั้งยาสมุนไพรและอาหารไปในตัว |
|
|
รวมรูป พันธุ์พืชผักพื้นบ้าน |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ความสำคัญของเกษตรอินทรีย์ |
|
|
แนวความคิด ของการทำเกษตรอินทรีย์ แบบยั่งยืน |
|
แล้วคำว่า "เกษตรอินทรีย์" มันคือการเกษตรอะไรกันแน่.... |
|
ความสำคัญเกี่ยวกับ การทำเกษตรที่เป็นเกษตรอินทรีย์ 100 เปอร์เซนต์ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|