มาสร้างโต๊ะ
เพาะกล้าในถาดหลุ่ม
สำหรับนาโยนกันเถอะ
|
|
เรื่องและเรียบเรียงโดย ตุ๊แสนฤทธิ์ |
|
|
|
|
การทำเกษตรอินทรีย์ นับว่าเป็นงานที่หนักพอสมควร หากขาดใจรัก และความอดทน โอกาสประสบความสำเร็จเป็นเรื่องที่ยากยิ่ง ดังนั้นการเสาะแสวงหาเครื่องมือ มาฃ่วยทุ่นแรงนับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง การเพาะข้าวในถาดหลุม สำหรับนาโยน โดยการค่อยๆ โรยเมล็ดข้าวลงในถาดหลุดนับว่าเป็นงานที่น่าเบื่อ และต้องใช้ความอดทน หากเพาะเพียงไม่กี่ถาดก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่ในการทำงานจริงๆ นั้น ต้องเพาะกันเป็น 1000 ถาดขึ้นไป นับว่าเป็นงานที่หนักมาก |
|
|
|
มนุษย์เรามีทุนของชีวิตที่เท่าเทียมกันเพียงบางส่วน มันเป็นต้นทุนชิวิตของแต่ละคนที่จะนำเอาไปใช้ให้คุ้มค่าอย่างไร ทุนตัวแรก คือทุนมรดก แต่ละคนเลือกเกิดไม่ได้ บางคนรวย บางคนจน ทำให้เกิดความเหลี่ยมล้ำกันในสังคม ทุนตัวที่สอง คือทุนสุขภาพ ซึ่งแต่ละคนอาจจะมีไม่เท่ากันมาแต่ต้น แต่หากมีทุนอื่นที่ดีย่อมจะสามารถเสริมสร้างทุนสุขภาพให้ดีขึ้นได้ ทุนตัวที่สามคือทุนเวลา ใน 1 วัน ทุกคนมีทุนเวลาเท่ากันคือ 24 ชั่วโมงไม่ขาดไม่เกิน อยู่ที่ว่าแต่ละคนจะบริหารทุนเวลาในแต่ละวินาทีให้ได้ประโยชน์อะไร ทุนตัวที่สี่คือ ทุนแรงกายแรงใจ อันนี้เป็นทุนที่แปลกกว่าเพื่อนยิ่งใช้ยิ่งเพิ่ม ถ้าใครไม่ใช้มีแต่จะลดน้อยถอยลง ทุนตัวที่ห้า ต้องใช้ทุนเวลาไปแลกมาคือทุนความคิด ซึ่งจะได้จากประสบการณ์การเรียนรู้การศึกษา ใครจะคิดดีคิดชั่ว คิดสร้างสรรค์ก็ต้องลงทุนเวลาให้ถูกทาง ทุนตัวตัวสุดท้าย คือทุนปัญญา ต้องใช้ทุนตัวอื่นๆ ประกอบกันเพื่อจะกระทำกิจกรรมที่คิดไว้ให้ประสบความสำเร็จ มนุษย์เราหากไม่มีทุนความคิดและทุนปัญญา นับว่าเป็นสิ่งที่ยากที่จะกระทำการใดๆ ได้สำเร็จ ทุนความคิดและทุนปัญญายังจะก่อให้เกิดเป็นการสร้างเครื่องมือนวัตกรรมใหม่ เพื่อนำเอามาช่วยในเรื่องทุนแรง ผลจะทำให้ประหยัดทุนเวลาและได้งานที่เพิ่มขึ้น
|
|
|
|
|
เพาะเมล็ดข้าว โดยการโรยด้วยมือ |
|
การทำนาโยน เริ่มแรกจะต้องทำการเพาะกล้าในถาดหลุ่มขนาด 434 หลุมก่อน ซึ่งวิธีเริ่มต้นทำกันในช่วงแรกๆ ต้องใช้แรงงานคนค่อยๆ ช่วยกันโรยดินเพาะและเมล็ดข้าวที่บ่มไว้จนงอก ลงในถาดหลุม ต้องใช้ความพยายามและความอดทนพอสมควร ยิ่งหากต้องการเพาะแบบปราณีต หลุ่มละ 1 เมล็ด ต้องใช้สมาธิอย่างสูง วิธีการนี้เหมาะสำหรับการเพาะไม่มากนัก หากใช้คนงานประมาณ 7-8 คน จะเพาะได้สูงสุดเพียง 400-500 ถาดเท่านั้น ซึ่งเมื่อนำไปโยนในแปลงนา จะได้เนื้อที่ประมาณ 6-7 ไร่
|
|
|
|
|
|
ร่างแบบ โต๊ะเพาะกล้านาโยน |
|
ปัจุจุบันค่าจ้างแรงงานสูงขึ้นอย่างน่าใจหาย ขณะเดียวกันแรงงานตามชนบทที่ได้ ก็มักจะไม่มีคุณภาพ ได้งานน้อยและประสิทธิภาพ คุณภาพของงานไม่มี และยังทำให้การลงทุนทำการเกษตรมีต้นทุนที่สูง เมื่อทำการเพาะกล้าในถาดหลุ่มได้ระยะหนึ่ง ทำให้ต้องคิดหาวิธีเพิ่มความเร็วในการเพาะ และให้ได้คุณภาพที่ยอมรับได้ เพื่อประหยัดค่าจ้างแรงงานไปในตัวด้วย อุปสรรคนี้เป็นสิ่งที่ท้าทายมาก เมื่อมีผู้คิดค้นเครื่องโรยเมล็ดข้าวและเครื่องโรยดินได้สำเร็จ ซึ่งมีขายอยู่ทั่วไป แต่ปัญหาคือถ้าสั่งซื้อมาเป็นชุดสำเร็จ จะขนส่งลำบากและมีราคาที่สูง จึงได้ทำการซื้อมาเฉพาะเครื่องโรยเมล็ดและเครื่องโรยดิน ส่วนโต๊ะเพาะกล้า เราสามารถสร้างขึ้นมาเองได้ |
|
|
|
|
|
ตอนที่เริ่มทำโต๊ะเพาะกล้าครั้งแรกๆ อันที่จริงไม่ได้เขียนแบบร่างเสียด้วยซ้ำ หลักง่ายๆ ให้สร้างโต๊ะขึ้นมา 1 ตัว โดยมีความกว้างที่จะสามารถวางเครื่องโรยทั้ง 2 ตัวได้ ส่วนความยาวก็ประมาณเอาสัก 3 เมตร เพราะซื้อเหล็กกล่องสี่เหลี่ยมขนาด 1 นิ้ว ที่นำมาทำเป็นรางเลื่อนเครื่องโรย ยาว 6 เมตร ก็สามารถตัดแบ่งครึ่งได้เลย |
|
|
|
|
|
แต่หลังจากทำเสร็จและทดลองใช้งานดู ช่วงห่างระหว่างเครื่องโรย 2 เครื่อง มันแคบเกินไป ทำให้พอมีเครื่องโรยดินวางอยู่บนรางเลื่อน ก็ไม่สามารถเลื่อนเครื่องโรยเมล็ดไปตามรางได้ เพราะจะชนกันเข้า ดังนั้นใครที่จะทำใหม่ให้แก้ไขให้ความกว้างของช่องว่างตรงนี้กว้างขึ้น จากในรูปแบบร่างเลยต้องทำให้ห่างกัน 20 เซนติเมตร ส่วนโต๊ะความยาว 3 เมตร ที่ทำอยู่รู้สึกจะสั้นเกินไป เลยต้องเอาไม้มาต่อรางเลื่อนออกไปอีกข้างละ 30 เซนติเมตร ซึ่งจะวางเครื่องโรยพักไว้ที่ตำแน่งนี้ได้ ส่วนขนาดอื่นๆ ก็เป็นไปตามรูปแบบร่างเลยครับ ปรับแก้ไขได้ตามต้องการ วัสดุของผมใช้ไม้ทำโต๊ะเพื่อความประหยัดและรวดเร็ว ใช้เวลาทำโต๊ะเพียงครึ่งวันก็เสร็จเรียบร้อย |
|
|
วัสดุใช้ในการทำ โต๊ะเพาะกล้านาโยน |
|
วัสดุหลักที่ใช้ทำโต๊ะครั้งนี้ จะใช้ไม้เป็นหลักเพื่อความประหยัด โดยโครงสร้างของโต๊ะจะทำจากไม้หน้า 3 นิ้ว หนาประมาณ 1 นิ้ว ปูพื้นด้านบนด้วยแผ่นไม้อัด มีขนาดความกว้างสูงของโต๊ะตามรูปแบบโต๊ะข้างบน บางท่านอาจจะใช้เหล็กมาเชื่อมต่อกันก็ได้ จะทำให้ได้โต๊ะที่แข็งแรงมากขึ้น และความยาาของโต๊ะสามารถเพิ่มไปได้ถึง 6 เมตร ซึ่งจะทำให้ได้งานมากขึ้น |
|
|
|
|
|
เมื่อทำโต๊ะที่ปูด้วยแผ่นไม้อัดเรียบร้อยแล้ว ให้ใช้สกรูยึดรางเหล็ก 2 ท่อนตรงกลาง ซึ่งทำจากเหล็กกล่องสี่เหลี่ยม ขนาด 1 นิ้ว ให้แน่นหนา อย่าลืมวัดระยะห่างของฐานล้อของเครื่องโรยให้ถูกต้อง และระยะระหว่างเครื่องโรย เพื่อไม่ให้เครื่องโรยชนกันในขณะที่ทำงานเลื่อนไปบนรางพร้อมๆ กัน |
|
|
|
|
|
ส่วนรางเลือน 2 ข้างตรงขอบโต๊ะ จะใช้บานพับประตู มายึดไว้ เพื่อให้สามารถพับเข้าพับออกของรางเลื่อนได้ เมื่อทำการโรยดินและโรยเมล็ดข้าวลงในถาดเพาะเรียบร้อยแล้ว จะได้พับรางเหล็กลงด้านข้าง ทำให้สามารถย้ายถาดเพาะกล้าได้ง่าย |
|
|
|
|
ประสิทธิภาพของ โต๊ะเพาะกล้านาโยน |
|
การใช้งานโต๊ะเพาะกล้า ต้องใช้แรงงานคน 2-4 คนก็พอ หากมากกว่านี้จะเป็นการกีดขวางการทำงานกัน ไม่ทำให้งานเพิ่มขึ้น สามารถเพาะกล้าในถาดหลุมนาโยนได้วันละ 500-600 ถาดต่อวัน หากต้องการเพาะให้ได้มากกว่านี้ ต้องขยายความยาวของโต๊ะเป็น 6 เมตร ก็จะทำให้เพาะกล้าได้ถึง 1,000 - 1,200 ถาดต่อวัน |
|
|
|
|
|
การใช้งาน โต๊ะเพาะกล้านาโยน |
|
การใช้งานโต๊ะเพาะกล้า เริ่มแรกให้วางถาดหลุมลงบนโต๊ะทั้ง 2 แถว นำดินเพาะใส่ในเครื่องโรยดิน ต้องทำการปรับการลงของดินให้พอดี โดยเมื่อเลื่อนไปบนราง 1 รอบ ต้องได้ดินในหลุมของถาดเพาะประมาณไม่เกินครึ่งหลุม |
|
|
|
|
|
เมื่อได้ดินในถาดหลุมเพาะครึ่งหลุมแล้ว ให้นำเมล็ดข้าวที่บ่มให้งอกแล้วพอเห็นหน่อขาวๆ เล็กๆ ใส่ลงในเครื่องโรยข้าว เมื่อเลื่อนเครื่องโรยข้าวไปแล้วให้ตรวจดูการลงของข้าวว่าต้องการมากน้อยกี่เมล็ด ซึ่งสามารถปรับจำนวนมากน้อยได้ที่ตัวเครื่องโรย บางครั้งอาจมีบางหลุมที่เมล็ดข้าวไม่ลง อาจจะใช้คนช่วยโรยเมล็ดซ่อมอีกครั้งก็ได้ แต่หากต้องการความรวดเร็วก็ปล่อยทิ้งไว้เลย เพราะจะมีไม่มากหลุมนัก |
|
|
|
|
|
เมื่อโรยข้าวไปเรียบร้อยแล้ว ก็ทำการโรยดินจนเต็มหลุม ซึ่งอาจจะเลื่อนเครื่องโรยดินไป 1-3 รอบ ขึ้นอยู่กับการปรับการลงของดิน ที่สำคัญไม่ควรให้มีดินเพาะล้นพูนที่ปากหลุมมากเกินไป เพราะเมื่อต้นกล้างอกขึ้นมา จะทำให้รากยึดติดกัน และต้นกล้าแต่ละหลุมจะติดกันเป็นกระจุก ทำให้เสียเวลานั่งแยกต้นกล้าแต่ละหลุมออกจากกัน ถ้าไม่ทำการแยกตรงขั้นตอนนี้ เมื่อเอากล้าไปโยน ต้นกล้าจะติดกัน โยนไม่กระจาย รวมกันเป็นกระจุก ทำให้ต้นกล้าเจริญเติบโตได้ไม่ดี |
|
|
|
|
|
|
|
|
การรดน้ำ หลังจากโรยดินโรยเมล็ดข้าว |
|
เมื่อได้ดินในถาดหลุมเพาะครึ่งหลุมแล้ว ให้นำเมล็ดข้าวที่บ่มให้งอกแล้วพอเห็นหน่อขาวๆ เล็กๆ ใส่ลงในเครื่องโรยข้าว เมื่อเลื่อนเครื่องโรยข้าวไปบนรางเลื่อน ให้ตรวจดูการลงของเมล็ดข้าว ว่าต้องการมากน้อยกี่เมล็ด ซึ่งสามารถปรับจำนวนมากน้อยได้ที่ตัวเครื่องโรย บางครั้งอาจมีบางหลุมที่เมล็ดข้าวไม่ลง อาจจะใช้คนช่วยโรยเมล็ดซ่อมอีกครั้งก็ได้ แต่หากต้องการความรวดเร็วก็ปล่อยทิ้งไว้เลย เพราะจะมีไม่มากหลุมนัก |
|
|
|
|
|
เมื่อนำถาดเพาะกล้าไปวางเพาะไว้ในแปลงเพาะ ต้องคลุมด้วยสแลนกรองแสง เพื่อป้องกันความชื้นระเหยเร็วจากแสงแดดและเป็นการบ่มข้าว หลังจากนั้น 3-4 วัน ก็จะเห็นต้นกล้าข้าวสีขาวแทงทะลุสแลนขึ้นมา ต้องรีบเอาสแลนออก เพราะทิ้งไว้นานต้นกล้าจะไม่แข็งแรง และจะโดนความร้อนของแสงแดดที่สะท้อนสแลนมาเผายอดต้นกล้าไหม้ตายได้ ระหว่างที่เพาะไว้ต้องรดน้ำทุกวันเช้าและเย็น หลังจากนั้นประมาณ 8-15 วัน ก็สามารถถอนต้นกล้าไปโยนในแปลงนาได้ การเพาะกล้าในฤดูหนาวต้นกล้าจะเจริญเติบโตช้ากว่าฤดูฝนและฤดูร้อน |
|
|
|
|
|
ุวิวัฒนาการ ของเครื่องเพาะกล้า |
|
หลังจากใช้โต๊ะเพาะกล้าในถาดหลุมสำหรับนาโยนมากสักพัก ยังรู้สึกว่า งานที่ได้ยังช้าและคุณภาพของงานยังคงขึ้นอยู่กับคนที่ทำการเพาะ ซึ่งความสามารรถที่ทำได้ใน 1 วัน สูงสุดประมาณ 1,000- 1,200 ถาด ในขั้นต่อไป ทางไร่พอใจยังมีแนวทางที่จะพัฒนาให้สามารถเพาะได้ถึงวันละ 2,000 กว่าถาดขึ้นไป โดยต้องใช้วิธีการเพาะแบบอัตโนมัติด้วยเครื่องกล นอกจากจะได้งานเพิ่มขึ้นแล้ว ยังทำให้ประหยัดแรงงานลงไปอีก และที่สำคัญจะทำให้ได้คุณภาพของถาดเพาะที่เท่าเทียมกันทุกถาด คาดว่าคงจะทำสำเร็จในเร็วๆ นี้ครับ |
|
|
|
|
|
ที่ไร่พอใจ เกษตรอินทรีย์ เราปลูกข้าวทั้งแบบนาโยนและนาหว่าน ซึ่งทำในระบบนาอินทรีย์ทั้งสองแบบ การทำนาโยนทำให้ประหยัดเมล็ดพันธุ์ลงไปได้มาก ข้าวแตกกอได้ดีกว่า สามารถคุมหญ้าวัชพืชได้ดีกว่านาหว่าน แต่ต้นทุนค่าแรงจะสูงกว่าและต้องใช้เวลามากกว่าด้วย การทำนาทั้ง 2 แบบมีทั้งข้อดีขอเสียในตัวของมันตัวเอง เพียงแต่คนปลูกข้าว ปลูกด้วยความพอใจ ไม่ว่าจะเป็นวิธีไหน ก็ไม่ได้ต่างกัน เพาะมันเป็นความสุขของคนปลูกข้าวคนหนึ่ง ก็เท่านั้นเอง |
|
|
รวมรูป โต๊ะเพาะกล้านาโยน |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ความสำคัญของเกษตรอินทรีย์ |
|
|
แนวความคิด ของการทำเกษตรอินทรีย์ แบบยั่งยืน |
|
แล้วคำว่า "เกษตรอินทรีย์" มันคือการเกษตรอะไรกันแน่.... |
|
ความสำคัญเกี่ยวกับ การทำเกษตรที่เป็นเกษตรอินทรีย์ 100 เปอร์เซนต์ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|